การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • นพดล ชอบใหญ่

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม, หุ่นยนต์, โปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม การเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์สำหรับเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จำนวน 30 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินทักษะการประกอบหุ่นยนต์และการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.460 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรม วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรฝึกอบรม เรื่องการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย ชื่อหลักสูตร หลักการ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหา กิจกรรม สื่อ การประเมินผล ระยะเวลาฝึกอบรม แผนการจัดการเรียนรู้ เอกสารประกอบหลักสูตร ซึ่งผู้เชี่ยวชาญประเมินองค์ประกอบหลักสูตร พบว่ามีความสอดคล้องและเหมาะสม 2. ผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม เรื่องการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า 1) นักเรียนมีความรู้หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนมีทักษะการประกอบหุ่นยนต์และการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ เฉลี่ยระดับมาก และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรม ระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรการศึกษาแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด

ฆนัท ธาตุทอง. (2552). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์

จงกลนี ชุติมาเทวินทร์. (2542). การฝึกอบรมเชิงพัฒนา. กรุงเทพ ฯ : พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด

ชิต เหล่าวัฒนา. (2551). เด็ก หุ่นยนต์ และการศึกษา (1) สืบค้น ตุลาคม 20, 2558, จากhttp://www.tpa.or.th

ชูศรี สุวรรณโชติ. (2542) หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์อักษรไทย

ชวลิต ชูกำแพง. (2551) การพัฒนาหลักสูตร. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยสารคาม

ทีมงานสมาร์ทเลิร์นนิ่ง. (2549) เรียนรู้การสร้างหุ่นยนต์ Step by Step. กรุงเทพ ฯ บริษัท ดี.เค.บุ๊ค ดิสดริบิวเตอร์ จำกัด

ทีมงานสมาร์ทเลิร์นนิ่ง. (2554) เปิดโลกการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ ไมโครคอนโทรลเลอร์ MCS-51 ด้วยภาษา C. กรุงเทพ ฯ บริษัท ดวงกมลสมัย จำกัด

นิสิต จรูญภาค (ม.ป.ป.) การพัฒนาโปรแกรมบังคับหุ่นยนต์ LEGO MINDSTORMS NXT สืบค้น ตุลาคม 1, 2558, จาก http://krunisit.rwb.ac.th/robot.html

นิรชรา ทองธรรมชาติ. (2544).กลยุทธ์การฝึกอบรมและวิทยากรในยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)

บุญเลี้ยง ทุมทอง (2553). การพัฒนาหลักสูตร Curriculum Development. กรุงเทพ ฯ : แอททีฟ ปริ้นจำกัด

เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2553) การวัดผลและการสร้างแบบสอบผลสัมฤทธิ์ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิจิตร อาวะกุล. (2540) การฝึกอบรม. กรุงเทพ ฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : อาร์ แอนด์ เอ็น ปริ้นท์ จำกัด

วิชุดา หุ่นวิไล. (2545). เอกสารการสอนรายวิชามนุษย์สัมพันธ์ในการบริหารงานอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : สถานบันราชภัฏ

สวนสุนันทา

พงศ์แสน พิทักษ์วัชระ. (2557) พื้นฐานของหุ่นยนต์ : กลศาสตร์ของหุ่นยนต์แบบอนุกรม, กรุงเทพ ฯ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2552) หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา, กรุงเทพ ฯ เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์

พัฒนา สุขประเสริฐ. (2541) กลยุทธ์ในการฝึกอบรม. กรุงเทพฯ : เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่นจำกัด

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สมคิด บางโม. (2549) เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. กรุงเทพ ฯ วิทยพัฒน์ จำกัด

สุนีย์ ภู่พันธ์. (2546) แนวคิดพื้นฐานการสร้างและการพัฒนาหลักสูตร, เชียงใหม่ : The Knowledge Center

สุวิมล ว่องวาณิช. (2547) การวัดทักษะการปฏิบัติ. กรุงเทพ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคระกรรมการศึกษาขึ้นพื้นฐาน (2555). สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์ และองอาจ ปทะวานิช. (2541). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร : ธีระฟิล์ม

Chaphin, J. P. (1994). Dictionary of psychology (5” ed.). Englewood Cliffs, N.J. Jersey: Prentice –Hall.

Cooper, L. (2000). Online course. The Journat. 27(8): 86-92.

Cherrington, D. J. (1994). Need Theories of Motivation. In R.M. Steers and L.W. Porter (Eds), Motivation and work behavior. New York: McGraw – Hill.

Lim, J. B. (2000). The Development and evaluation of a computer-assisted instruction mokule for university student in the field of adult education. University Of alberla (Canada).

Mullins, L. J. (1985). Management and organization behavior. London: Pitman Publishing Ltd.Sedcord, P.F.,& Backman, C.W.(1991) Social psychology(2” ed). New York: McGraw-Hill.

Shelley, M. W. (1975) Responding to social change. Pennsylvania: Dowden, Hutchison.

Taylor, S. L. (1994). Distinguishing Service Quality form Patient Satisfaction in Developing Health & Health Service Administration.

Vroom, V. H. (1980). Work and motivation. New York: John and sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย