พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา
พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา
คำสำคัญ:
พฤติกรรมทางสังคม, ทฤษฎีพหุปัญญาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยระหว่างก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ เด็กปฐมวัย ที่มีอายุระหว่าง 3-4 ปี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 25 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาและ 2) แบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2559). “ทักษะทางสังคม” ใครว่าไม่สำคัญ. สืบค้น เมษายน 22, 2560, จาก http://www.kriengsak.com/node/1646.
ชนิดา สุวรรณลาภเจริญ. (2553). ผลของโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาที่มีต่อทักษะการมองโลกในแง่ดี และทักษะการเข้าสังคมของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิภา วรฉันท์. (2552). การพัฒนาพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.
มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว และศูนย์ประชามติสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง (2557). โพล์ความสุขมวลรวมของคนไทย. สืบค้น เมษายน 22, 2560, จาก http://news.voicetv.co.th/thailand/43326.html.
เยาวพา เดชะคุปต์. (2551). รวมนวัตกรรมทฤษฎีการศึกษาปฐมวัยสู่การประยุกต์ใช้ในห้องเรียน. กรุงเทพฯ: สาราเด็ก.
ลัดดา ยะรังวงษ์. (2554). การพัฒนาพฤติกรรมตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน อันนูรอยน์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
วชิรญา ไวยเวทย์. (2551). ผลการจัดประสบการณ์โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญาที่มีต่อการพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ชั้นอนุบาลปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองลำตาเสา. (2558). การประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองลำตาเสา (พ.ศ.2556 – 2558). พระนครศรีอยุธยา: ผู้แต่ง.
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2550). เอกสารประกอบการเรียนวิชา ECED 201 การศึกษาปฐมวัย Early Childhood Education. หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย.
สุภาภรณ์ ปั้นกล่ำ. (2557). ผลการใช้กิจกรรมศิลปะเชิงพหุปัญญาตามแนวคิดของโฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ ที่ส่งเสริมความสุขและทักษะทางศิลปะในเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อารี สัณหฉวี. (2552). พัฒนาอัจฉริยภาพด้วยพหุปัญญา. นครปฐม: ไอ.คิว.บุ๊คเซ็นเตอร์
Bloom, B. S. (1964). Stability and Change in Human Characteristics. New York: John Wiley, & Son.
Gardner, H. (1983). Frames of Mind. New York: Basic.
Shapiro, L. E. (2009). 101 ways to teach children social skills. United States: Guidance Group.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ