ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการโค้ช เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการโค้ช เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • พัชรพรรณ เก่งการเรือ

คำสำคัญ:

การเรียนรู้ด้วยวิธีการโค้ช, ความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, ความสามารถด้านแก้ปัญหา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบ 1) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการโค้ช 2) ทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการโค้ช 3) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 และ 4) ทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนวัดนมโฑ (สำนักงานสลากกินแบ่งสมทบสร้าง 338) จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการโค้ช 2) แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.82 และ 3) แบบทดสอบวัดการแก้ปัญหา มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการโค้ช หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 2. ความสามารถด้านการแก้ปัญหา เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการโค้ช หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าเกณฑ์คะแนนร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ความสามารถด้านการแก้ปัญหา เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าเกณฑ์คะแนนร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

จรัสศรี ศรีรัตนวิบูลย์. (2548). การพัฒนากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์ในวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตร และการสอน). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ทิศนา แขมมณี. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมเนจเม้นท์ จำกัด.

ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2544). กิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยการใช้การแก้ปัญหาปลายเปิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. กศ.ด., มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). เพื่อความเป็นเลิศของการครุศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2557). การโค้ชเพื่อการรู้คิด (Cognitive Coaching). กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2555). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 3 (พ.ศ. 2554-2558) โรงเรียนวัดนมโฑ (สำนักงานสลากกินแบ่งสมทบสร้าง 338). กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.

อารยา ช่ออังชัญ. (2553). พัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา อย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

Bellanca, J. and Brandt, R. (2010). 21st century skills : Rethinking How Students Learn. Solution Tree Press.Trilling, B. and Fadel, C. (2009). 21st Century Skills: Learning for Life in Our Times. U.S.A.: Jossey-Bass A Wiley Imprint.

Bruner, J. (1971). The relevance of education. New York, NY: Norton & Co. Ennis, R.H. , Millman , J. and Tomko , T.N. (1985). Manual : Cornell Critical Thinking Test . Pacific Grove , CA : Midwest.

Polya, G. (1957). How To Solve It : A New Aspect of Mathematic Method. New York: Doubleday and company.

Zhao, S. (2006). Journal of Computer-Mediated Communication. Do internet users have more social ties? A call for differentiated analyses of internet use.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย