ผลการจัดการเรียนรู้เรื่อง มวล แรงและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ร่วมกับการสะท้อนความตระหนักรู้อภิปัญญา

ผลการจัดการเรียนรู้เรื่อง มวล แรงและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ร่วมกับการสะท้อนความตระหนักรู้อภิปัญญา

ผู้แต่ง

  • วารินทร์ จงธรรม

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ร่วมกับการสะท้อนความตระหนักรู้อภิปัญญา, ผลการจัดการเรียนรู้, จิตวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง มวล แรง และกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ร่วมกับการสะท้อนความตระหนักรู้อภิปัญญา 2) คุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์ เรื่อง มวล แรง และกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ร่วมกับการสะท้อนความตระหนักรู้อภิปัญญา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 แผนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนโคกสำโรงวิทยา อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี จำนวน 38 คนได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.719 3) แบบวัดคุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.905 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องมวล แรงและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ ร่วมกับการสะท้อนความตระหนักรู้อภิปัญญา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. จิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ ร่วมกับการสะท้อนความตระหนักรู้อภิปัญญา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

References

กนกวรรณ พิทยะภัทร์. (2556). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้ 5E. สืบค้นมีนาคม 27, 2560, จาก https://www.google.co.th/webhp?sourceid=chrome-instan&ion=1&espv=2&ie=U

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กลุ่มบริหารงานวิชาการ. (2559). สรุปรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีการศึกษา 2558. ลพบุรี: โรงเรียนโคกสำโรงวิทยา.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2555). การวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏพระนคร.

_______. (2549). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ออฟ เคอร์มีสท์.

ล้วน สายยศ, และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาสน์.

วิไล ทองแผ่. (2545). การวิจัยทางสังคมศาสตร์.ลพบุรี.สถาบันราชภัฏเทพสตรี.

สิโรตม์ บุญเลิศ. (2555, กรกฎาคม-ธันวาคม). ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 5E ร่วมกับกลวิธีการสะท้อนอภิปัญญาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มโนมติและอภิปัญญาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารหลักสูตรและการสอนทักษิณ, ปีที่ 7 (ฉบับ ที่ 2), 162

สุภาพ สิทธิศักดิ์. (2555, กรกฎาคม-ธันวาคม). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการสอนแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E กับการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้4MAT. วารสารหลักสูตรและการสอนทักษิณ, ปีที่ 7 (ฉบับที่ 2), 171

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2556). พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานศึกษาธิการภาค 2. (2559). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน (o-net) ปีการศึกษา 2558 จังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 เขตตรวจราชการ 2 สืบค้น มกราคม, 25, 2560, จาก https:mty5.chaiwit.ac.th.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย