ผลการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การเขียนเว็บด้วยภาษา HTML สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผลการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การเขียนเว็บด้วยภาษา HTML สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • สมบูรณ์ มณีฉ่า

คำสำคัญ:

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, การเขียนเว็บ, ภาษา HTML

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การเขียนเว็บด้วยภาษา HTML สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การเขียนเว็บด้วยภาษา HTML ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน และ 3) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การเขียนเว็บด้วยภาษา HTML กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 ของโรงเรียนหันคาพิทยาคม อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีจับสลากห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.817 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.924 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบที
ผลการวิจัย พบว่า 1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การเขียนเว็บด้วยภาษา HTML สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 89.34/85.28 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การเขียนเว็บด้วยภาษา HTML หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การเขียนเว็บด้วยภาษา HTML สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

ไกรพ เจริญโสภา. (2554). หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) วิชาการพิมพ์ดิจิทัล สําหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนัทา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ครรชิต มาลัยวงศ์. (2540). นวัตกรรมทางเทคโนโลยีในทศวรรษ 2000 ทัศนะไอที. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ทิพย์มณฑา สดชื่น. (2544). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องการถ่ายภาพเบื้องต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุปผชาติ ทัศหิกรณ์. (2540). “เครือข่ายใยแมงมุมในโลกทางการศึกษา”. วารสารอินเตอร์เน็ตแมกาซีน 2. (มิถุนายน 2540): 83 – 88.

พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์. (2540). บนเส้นทางอินเตอร์เน็ต. กรุงเทพฯ: เอชเอ็นกรุ๊ป.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เฮ้า ออฟ เคอร์มีสท์.

ศรันย์ ไมตรีเวช. (2540). “พัฒนาการขั้นต่อไปของ HTML”. วารสารไมโครคอมพิวเตอร์. (เมษายน 2540).

สมนึก ภัททิยธนี. (2546). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ประสานการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ. (2553). การเปลี่ยนแปลงโลกของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาสู่ “ครูมืออาชีพ” ใน สุดาพร ลักษณียนาวิน (บรรณาธิการ) การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สุมณฑ์มาศ บุตรรัก. (2556).การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เสาวลักษณ์ ญาณสมบัติ. (2545). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง นวัตกรรม การสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อภิดา รุณวาทย์. (2556). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมบนเว็บสำหรับการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) (มกราคม - เมษายน 2557): 111 – 124.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย