การพัฒนาหลักสูตรเรื่อง การแกะสลักดอกหน่อไม้ไผ่ตง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
การพัฒนาหลักสูตรเรื่อง การแกะสลักดอกหน่อไม้ไผ่ตง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
Curriculum development, bamboo shoot carving, secondary school studentsบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรเรื่อง การแกะสลักดอกหน่อไม้ไผ่ตง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี 2) ประเมินการใช้หลักสูตรเรื่อง การแกะสลักดอกหน่อไม้ไผ่ตง สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนวัดปากน้ำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 จานวน 24 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยวิธีการจับสลากโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) หลักสูตรเรื่อง การแกะสลักดอกหน่อไม้ไผ่ตง สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อาเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี 2) แบบทดสอบวัดความรู้เรื่อง การแกะสลักดอกหน่อไม้ไผ่ตง มีค่าความเชื่อมั่น 0.839 3) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติการแกะสลักดอกหน่อไม้ไผ่ตง และ 4 )แบบสอบถามเจตคติที่มีต่ออาชีพการแกะสลักดอกหน่อไม้ไผ่ตง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการพัฒนาหลักสูตรเรื่อง การแกะสลักดอกหน่อไม้ไผ่ตง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรเรื่อง การแกะสลักดอกหน่อไม้ไผ่ตง ใช้ระยะเวลาจานวน 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 2 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง องค์ประกอบของหลักสูตรได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง ขอบข่ายเนื้อหา เวลาเรียน แนวการจัด การเรียนรู้ สื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่สร้างขึ้น ตามกระบวนการสร้างและพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ประเมินองค์ประกอบของหลักสูตรพบว่า มีความสอดคล้องเหมาะสม (IOC) เท่ากับ 1.00 2. ผลการทดลองใช้หลักสูตรเรื่อง การแกะสลักดอกหน่อไม้ไผ่ตง พบว่า ผลการเปรียบเทียบความรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนเรื่อง การแกะสลักดอกหน่อไม้ไผ่ตง ตามหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวัดทักษะการปฏิบัติการแกะสลักดอกหน่อไม้ไผ่ตง โดยรวมมีค่าเฉลี่ย 4.31 อยู่ในคุณภาพระดับดี ผลการวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่ออาชีพแกะสลักดอกหน่อไม้ไผ่ตง พบว่า นักเรียนมีเจตคติต่ออาชีพการแกะสลักดอกหน่อไม้ไผ่ตง โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.78 อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ.(2553). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กลุ่มนิเทศติดตามประเมินผลการจัดการศึกษา. (2556). โครงการเสริมสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ สู่แหล่ง
เรียนรู้ยุคใหม่ ชุดแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งงเรียนรู้ท้องถิ่น สาระการเรียนรู้
ท้องถิ่น. สุพรรณบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3.
ธัญญาภัสร์ อบอุ่น. (2556). การพัฒนาหลักสูตร เรื่อง การทำอิฐบล็อกตัวหนอนสำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4-6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ปราโมทย์ จันทร์เรือง. (2552). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
เผดิมชัย มาพันธุ์. (2555). การพัฒนาหลักสูตรเรื่อง การทำไม้กวาด กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
วีระ ไทยพานิช. (2551). 57 วิธีสอน. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สมพงค์ สริฟอง. (2558). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การประดิษฐ์เครื่องใช้จากเถาวัลย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555–2559. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.
สุทิศา คำน้อย. (2555). การพัฒนาหลักสูตรเรื่อง ตุ๊กตาดินสอพอง รายวิชากิจกรรมองค์การวิชาชีพ สำหรับ
นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
สุภารัตน์ ผลมะม่วง. (2558). การพัฒนาหลักสูตรอาเซียนศึกษา เรื่อง อาหารประจำชาติอาเซียน กลุ่มสาระ
การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียน
โสตศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
อรพิน ทองดี. (2557). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องการทำขนมกง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
อัจฉรา ใจเย็น. (2557). การพัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมเรื่อง “ผักหวานบ้านเรา” กลุ่มสาระ
การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
Chuncha,Zenrina da. (1997). A case study of curriculum development process in nutrition
education. Dictionary of Education.57(7), 2884-A.
Taba, Hilda. (1962). Curriculum development theory and practice. New York:Harcourt, Brace,&
world.
Tyler, Ralph W. (1950). Basic Principles ofCurriculum and Instructions. Chicago: The University
of Chicago Press.
Bennett, Ralph M. (2003. Teacher participation in curriculum development:a history of the
idea and practice, Retrieved January 2, 2012, from http://www.libl.umi.com/ dissertations/fullcit/ 309409html
Saylor, J. Galen, Alexander, William M.,& Lewis, Arthur J. (1981). Planning curriculum for school.
New York: Holt, Rinehart, & Winston.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ