การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ เจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้ ทคนิคกลุ่มแบบเพื่อนช่วยเพื่อนกับวิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ เจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้เทคนิคกลุ่มแบบเพื่อนช่วยเพื่อนกับวิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท

ผู้แต่ง

  • พัชชา แก้วทอง

คำสำคัญ:

เทคนิคกลุ่มแบบเพื่อนช่วยเพื่อน, วิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องอสมการ  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้เทคนิคกลุ่มแบบเพื่อนช่วยเพื่อนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องอสมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน  3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อสมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้เทคนิคกลุ่มแบบเพื่อนช่วยเพื่อนกับวิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท 4) เจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์  เรื่องอสมการ  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้เทคนิคกลุ่มแบบเพื่อนช่วยเพื่อนกับวิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ของนักเรียนโรงเรียนเสนา “เสนาประสิทธิ์” อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 80 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคกลุ่มแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท  3)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.836  4) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.732 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที

 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องอสมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้ เทคนิคกลุ่มแบบเพื่อนช่วยเพื่อนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องอสมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้ วิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องอสมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดการเรียนรู้เทคนิคกลุ่มแบบเพื่อนช่วยเพื่อนกับการจัดการเรียนรู้วิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. เจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องอสมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ระหว่างการจัดการเรียนรู้เทคนิคกลุ่มแบบเพื่อนช่วยเพื่อน กับการจัดการเรียนรู้วิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทไม่แตกต่างกัน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทัศนี สนธิ. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติต่อการเรียน และความคงทนในการ

เรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้

เทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนกับการสอนตามคู่มือของ สสวท. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

นัคสวรรย์ ศรีจันทร์. (2545). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการคูณและการหาร ของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่สอนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ วิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทและวิธีสอนตาม

คู่มือครู. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ.. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.

รุ่งตะวัน บัวดอก, ละมูล พิพิธทองและศรีนวล หลวงแหนม. (2551). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนเพื่อซ่อม

เสริมทักษะการคิดคำนวณด้วยเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง

สมการกำลังสองตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วศิน เกิดดี. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการ

จัดการเรียนรู้แบบอุปนัยกับการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

วิชชุนี รัตนะ. (2556). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีการสอน

แบบเอ็กซ์พลิซิทร่วมกับการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์

ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สงวนศักดิ์ โกสินันท์. (2543). ผลการใช้เทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ที่มีต่อเจตคติ

และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์

ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. (2560). ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-Net) ชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. นนทบุรี: ผู้แต่ง

Baker, S., Gersten, R., and Lee, D. (2002). The Elementary School Journal. A synthesis of

empirical research on teaching mathematics to low-achieving student.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย