การปฏิบัติงานตามมาตรฐานการเรียนร่วมตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมจังหวัดสระบุรี

การปฏิบัติงานตามมาตรฐานการเรียนร่วมตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมจังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • สุภัคชยา ตั้งจิตต์

คำสำคัญ:

การปฏิบัติงาน, มาตรฐาน, การเรียนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการเรียนร่วม ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมจังหวัดสระบุรี และ 2) เปรียบเทียบการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการเรียนร่วม ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมจังหวัดสระบุรี เมื่อจำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงานด้านการเรียนร่วมหรือสอนนักเรียนพิการเรียนร่วม การผ่านการอบรมเกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ และสังกัดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 1 และเขต 2  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 (สระบุรี) ปีการศึกษา 2560 จำนวน 326 คน โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.935 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า 1. การปฏิบัติงานตามมาตรฐานการเรียนร่วมตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมจังหวัดสระบุรี สรุปในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ด้านคุณภาพผู้เรียน 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านการบริหารจัดการเรียนร่วม และ 4) ด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 2.  การเปรียบเทียบการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการเรียนร่วมตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมจังหวัดสระบุรี ภาพรวม เมื่อจำแนกตาม ตำแหน่ง วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงานด้านการเรียนร่วมหรือสอนนักเรียนพิการเรียนร่วม การผ่านการอบรมเกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเมื่อจำแนกตามสังกัดของโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน

References

กานดา พูนลาภทวี. (2539). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.

ณัฐพล ประสงค์ทรัพย์. (2557). การปฏิบัติงานตามมาตรฐานการเรียนร่วม เพื่อการประกันคุณภาพภายใน

ของสถานศึกษาด้านการบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1-เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ดนัย อันฤดี. (2551). การจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนเรียนร่วมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

มหาสารคาม เขต 1 และเขต 2 ตามโครงสร้างซีท (SEAT framework). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บรรจง สุริยะ. (2551). การบริหารจัดการเรียนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

เยาวดี วิบูลย์ศรี. (2545). การวัดและการสร้างแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วสันต์ สืบสุทธา. (2550). ความความคิดเห็นของครูและผู้บริหารที่มีต่อการปฏิบัติงานการศึกษาพิเศษ

โรงเรียนเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปกร.

ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสระบุรี. (2558). เอกสารสรุปโครงการนิเทศ ติดตาม โรงเรียนแกนนำจัดการ

เรียนร่วม/เรียนรวม.

สชาสิริ วัชรานุรักษ์. (2557). สภาพการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท เป็นฐานในโรงเรียนแกนนำ

จัดการเรียนร่วมจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สุทธิดา มูลทะสิน. (2554). สภาพการบริหารจัดการเรียนร่วมโครงสร้างสร้างซีทของโรงเรียนแกนนำจัดการ

เรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). ลพบุรี: สถาบันราชภัฏเทพสตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). มาตรฐานการเรียนร่วมเพื่อการประกันคุณภาพภายใน

ของสถานศึกษา ปี พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1. (2558). เอกสารรายงานเพื่อรับการประเมินรางวัล

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ส่งเสริมการจัดการเรียนร่วมดีเด่น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. (2558). เอกสารรายงานเพื่อรับการประเมินรางวัล

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ส่งเสริมการจัดการเรียนร่วมดีเด่น.

Cronbach, L.J. (1971). Essentials of psychological testing. New York : MeGraw-Hill.

Plamer, J.R.(1998). “A study of Facalty Attitudes Towaeds Special Need Students at Three

Commuity Colleges in the Virginia Community College System.” Dissertation Astracts Internation, 3, 167.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย