การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับสัมผัส ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับสัมผัสที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ

ผู้แต่ง

  • ทณิฒฎา หาลาภ

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์, บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, การจัดการเรียนรู้แบบปกติ, ระบบประสาทและอวัยวะรับสัมผัส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับสัมผัส ที่ได้รับจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนท่าหลวงวิทยาคม  อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 2 กลุ่ม จากการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มที่ 1 ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และกลุ่มที่ 2 ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แผนการจัดการเรียนรู้  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 4. เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรมวิชาการ. (2554). การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระบบการ

ประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา: กรอบและ แนวการดาเนินงาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา, ลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551ก). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

______. (2551ข). แนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2556). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนคร.

______. (2556). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ : ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

ล้วน สายยศ. และ อังคณา สายยศ. (2540). การวัดด้านจิตพิสัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น

สมนึก ภัททิยธนี. (2551). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). กาฬสินธุ์. ประสานการพิมพ์

มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์ สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วาสนา ทองดี. (2551). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องระบบในร่างกาย. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร

นรา สุประพัฒน์โภคา. (2552). เครื่องต้มแผ่นให้ความร้อน. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ภูวดล ภูดิน. (2551). บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาไฟฟ้า. อิเล็กทรอนิกส์ขั้นพื้นฐานสำหรับงานเทคโนโลยี. สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. สารนิพนธ์ ศ.ม. (เทคโนโลยีการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุนันทา ยินดีรมย์, บุญเรือง ศรีเหรัญ และ ชาตรี เกิดธรรม. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยสื่อประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปีที่ 8 (ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2557). 50-61.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

Kettinger, W. J. (1991). Computer classroom in higher educations: and innovation in teaching. Education Technology, 31(8), 36-43.

Kuder, F. G. and Richardson. M. W. (1937). The Theory of the Estimation of Test Reliability. Psychometrika. 2 (September 1937).

Oden, R. E. (1982, August). An Assessment of the effectiveness of computer Assisted Instruction

on Altering Teaching Behavior and the Achievement and Attitudes of ninth grade Pre-Algebra Mathematics Students. Dissertation Abstracts International. 43 (2) : 355A.

Turner, S. and Weed, F. (1983). Conflict in Organizations. Prentice-Hall. Englewood Cliffs. New Jersey.

Wise, K. C. (1984). The impact of microcomputer simulations on the achievement and attitude of high school physical science students. Dissertation Abstracts International, 44(8), 2432-A.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย