บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี
บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี
คำสำคัญ:
บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา, การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ1) ศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี 2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี จำแนกตาม เพศ ตำแหน่งหน้าที่ ระดับการศึกษา อายุ ประสบการณ์การทำงานและขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี ปีการศึกษา 2560 จำนวน 352 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.922วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีแอลเอสดีของฟิชเชอร์ ผลการวิจัยพบว่า 1)บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูในสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ดังนี้ ด้านจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ด้านจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพด้านจรรยาบรรณต่อตนเอง ด้านจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการและ ด้านจรรยาบรรณต่อสังคม 2)บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูในสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี จำแนกตาม เพศและขนาดสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ส่วนเมื่อจำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ระดับการศึกษา อายุ และประสบการณ์การทำงาน ไม่แตกต่างกัน
References
ข่าวสด. (2559). ครูสาวใช้ไม้พลองตีนักเรียน 7 ขวบ 99 ที.สืบค้น มกราคม 15, 2559, จาก https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_159685.
จีรนันท์สุวรรณมณีเภสัช. (2552). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมจรรยาบรรณครูในโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไทยรัฐออนไลน์. (2557). ครูโหด ใช้ไม้ขนไก่ตีหัวนักเรียนจนได้รับบาดเจ็บ. สืบค้น มกราคม 15, 2559, จากhttps://www.thairath.co.th/content/429535.
นริศรา เหมหงษา. (2552). การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
เนชั่นทีวีออนไลน์. (2558). ครูพละชัยภูมิตบป้องหูนักเรียนฉีก.สืบค้น มกราคม 15, 2559, จากhttp://www.nationtv.tv/main/content/378457651/.
ประคอง กรรณสูต. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 8).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ออฟเคอร์มีสท์.
ราชกิจจานุเบกษา. (2556, 4, ตุลาคม). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556. เล่มที่ 130. ตอนพิเศษ 130 ง. หน้า 72–74.
วิชัยบุตรโท. (2552). การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ว่าด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพครู ของข้าราชการครูในศูนย์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาที่ 7 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ศุภมาส วนากุล. (2556). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1. (2560). ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา.สืบค้น เมษายน20, 2561, จาก http://data.bopp-obec.info/emis/index_area.php?Area _CODE =1601.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. (2560). ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา.สืบค้น เมษายน20, 2561, จาก http://data.bopp-obec.info/emis/index_area.php?Area_CODE=1602.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545.กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564 f.สืบค้น กุมภาพันธ์ 15, 2559, จากhttp://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2550). สารานุกรมวิชาชีพครู เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี.กรุงเทพฯ:คุรุสภาลาดพร้าว.
อริสรา หลักเป้า. (2559). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมวินัยและจรรยาบรรณวิชาชีพครูในโรงเรียนเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาเครือข่ายที่ 7 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
เอมม่า อาสนจินดา, และวีนันท์กานต์ รุจิภักดิ์. (2559). จริยธรรมในวิชาชีพครู. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ