ประสิทธิผลการนำนโยบายการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ไปปฎิบัติ ของศูนย์การค้าบลูพอร์ท อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ประสิทธิผลการนำนโยบายการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ไปปฎิบัติ ของศูนย์การค้าบลูพอร์ท อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • ปรินทร์ ชาวไร่

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, การปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น), การนำนโยบายไปปฏิบัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลการนำนโยบายการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ไปปฏิบัติ ของศูนย์การค้าบลูพอร์ท อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) ศึกษาปัจจัยการนำนโยบายไคเซ็นไปปฏิบัติงานของศูนย์การค้าบลูพอร์ท อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 3) ศึกษาปัจจัยการนำนโยบายไคเซ็นไปปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผล กับประสิทธิผลการนำนโยบายการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ไปปฏิบัติ ของศูนย์การค้าบลูพอร์ท อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในศูนย์การค้าบลูพอร์ท อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 146 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติค่าไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) ประสิทธิผลการนำนโยบายการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ไปปฏิบัติ ในภาพรวมและรายด้านมีประสิทธิผลอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยการนำนโยบายไคเซ็นไปปฏิบัติงาน ในภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยการนำนโยบายไคเซ็นไปปฏิบัติงาน ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ และด้านสถานที่ มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ–ผลกับประสิทธิผลการนำนโยบายการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ไปปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ด้านโครงสร้างองค์กร มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ–ผลกับประสิทธิผลการนำนโยบายการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ไปปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และด้านวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ–ผลกับประสิทธิผลการนำนโยบายการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ไปปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ และอายุ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการนำนโยบายการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ไปปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ชลิดา ลิ้นกี่ และ เอกชัย มณีรัตน์. (2557). วิสัยทัศน์องค์กรที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
ชลิตฐา นิตสรณ์. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง: กรณีศึกษา บริษัท ฟาบริเนท จำกัด. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ซารีน่า ไวยสุภี. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมกิจกรรมไคเซ็น (Kaizen) ของพนักงาน: กรณีศึกษา บริษัท โซนี่เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ธีระวัฒน์ จันทึก และจิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2559). การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุนศูนย์การค้าชุมชนเพื่อสร้างรายได้ระดับท้องถิ่นบนฐานการพัฒนานโยบายการจัดการทางเศรษฐกิจในเขตเมืองระดับเล็ก. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย 8(3), 77-117.
พัชรี ปิ่นเพชร. (2561). บทสัมภาษณ์ระบบการบริหารงานในองค์กร หัวหน้าฝ่ายผู้จัดการ ของ ศูนย์การค้า บูลพอต เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2561.
เพ็ญนภา จันทร์บำรุง. (2559). ปัจจัยการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของกิจกรรมไคเซ็น กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนและประกอบรถยนต์ของญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรเดช จันทรศร.(2551). ทฤษฎีการนำนโยบายไปปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
วรรณา จารีย์. (2557). ค่าตอบแทนกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร ห้างสรรพสินค้าไดอาน่า สาขาหาดใหญ่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วรัญญา ศรีริน. (2558). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อสัมฤทธิผลของการเป็นองค์กรนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. มส. (บศ.) 3(3), 54-64.
วัชราภรณ์ กิติวรรณ์ (2556). เทคนิคการจัดการการลดต้นทุนเพื่อความอยู่รอดของฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่รายย่อยในจังหวดเชียงใหม่. รวมบทคัดย่อการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 7, 507-526.
วิทยา ตันสุวรรณนนท์. (2550). ประโยชน์ของการทำไคเซ็น. สืบค้น พฤษภาคม 23, 2562, จาก https://www.jobub.com.
ศูนย์การค้าบูลพอร์ต หัวหิน รีสอร์ทมอลล์.(2559). ศูนย์การค้าบูลพอร์ต หัวหิน รีสอร์ทมอลล์. สืบค้นพฤศจิกายน 1, 2561, จาก https://www.bluporthuahin.com/th/about-us/.
สมภาร วรรณรถ. (2560). การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยใช้แนวคิดไคเซ็น กรณีศึกษา บริษัท วาย เอส ภัณฑ์ จำกัด. วารสารเกษมบัณฑิต. 19(ฉบับพิเศษ), 142 – 160.
สุรชัย แพงเล้า. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการร่วมทำกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องไคเซ็นของพนักงาน บริษัท A. หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
เอมมิกา แตงรอด. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจการใช้บริการศูนย์การค้าชุมชนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา เดอะเซอร์เคิล ราชพฤกษ์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Gondhalekar, S., SubashBabu, A., & Godrej, N. B. (1995).Towards TQM using kaizen process dynamics: a case study. International Journal of Quality & Reliability Management. 12(9), 192 - 209.
Imai, M. (1986). Kaizen: The Key to Japanese Competitiveness Success. New York: Random House Business.
Samuel B Green. (1991). How Many Subjects Dose It Take to Do a Regression Analysis? Multivariate Behavioral Research 26(3), 499-510.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30