ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพยาบาลโรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพยาบาลโรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
คำสำคัญ:
ความผูกพันต่อองค์การ, ปัจจัยในการปฏิบัติงาน, พยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความผูกพันต่อองค์การของพยาบาลโรงพยาบาลรัฐบาล ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) ลักษณะส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพยาบาลโรงพยาบาลรัฐบาล 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์การของพยาบาลโรงพยาบาลรัฐบาล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลรัฐบาล ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 146 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติค่าไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) ความผูกพันต่อองค์การของพยาบาลโรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในภาพรวมมีความผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านเรียงตามลำดับดังนี้ ด้านความเต็มใจที่จะทุ่มเทความพยายามในการปฏิบัติงานให้แก่องค์การมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ด้านความเชื่อมั่นในการยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ และด้านความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะคงความเป็นสมาชิกขององค์การ 2) ลักษณะส่วนบุคคลในภาพรวม ไม่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของพยาบาลโรงพยาบาลรัฐบาลในทุกด้าน 3) ปัจจัยในการปฏิบัติงานของพยาบาลโรงพยาบาลรัฐบาลในภาพรวมมีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านความสัมพันธ์ของบุคลากรในองค์การ ด้านความมีอิสระในการทำงาน ด้านความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อองค์การ ด้านความรู้สึกว่าองค์การเป็นที่พึ่งพาได้ และด้านความคาดหวังที่จะได้รับการตอบสนองจากองค์การ โดยปัจจัยในการปฏิบัติงานในภาพรวม ด้านความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อองค์การ ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ และด้านความรู้สึกว่าองค์การเป็นที่พึ่งพาได้ มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของพยาบาลโรงพยาบาลรัฐบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีขนาด 0.851
References
บุญใจ ศรีสถิตนรากูล. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ The Methodology in Nursing Research (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: บริษัท ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย จำกัด.
ปิยะภัทร พันธ์ซ้อน. (2560). ความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
พิมพ์ชนก ทับมนเทียน. (2560). ความผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
วิจิตร ศรีสุพรรณ และกฤษฎา แสวงดี. (2555). ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพ ในประเทศไทย.วารสารสภาการพยาบาล, 27(1), 5-12.
ศราวุธ โภชนะสมบัติ. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันในองค์กรของบุคลากร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดนครสวรรค์. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดนครสวรรค์กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
อรวรรณ เครือแป้น. (2556). ความผูกพันองค์กรของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 29(2), 10-19.
Mowday, R.T., Porter, L.W. & Steer, R.M. (1982). Dmployee-Organizational Likage: The Psychology of Commitment Absenteeism and Turnover. New York: Academic Press.
Samuel B Green. (1991). How Many Subjects Dose It Take to Do a Regression Analysis? Multivariate Behavioral Research, 26(3), 499-510.
Steers, R. M. (1977). Antecedents and outcomes of organizational commitment. Administrative Science Quarterly, 22(1), 46-56.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ