การพัฒนาแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลเพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 6 จังหวัดลพบุรี

การพัฒนาแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลเพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 6 จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • นภาวัลย์ ซิ่วนัส

คำสำคัญ:

แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล, กล้ามเนื้อมัดใหญ่, ความบกพร่องทางสติปัญญา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง 2) เปรียบเทียบความสามารถการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ก่อนและหลังการใช้แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษาพิเศษ  เขตการศึกษา 6 จังหวัดลพบุรี จำนวน 3 คน โดยได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงเฉพาะนักเรียนที่มีปัญหาในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ไม่มีปัญหาความพิการอื่นแทรกซ้อน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1)  แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล 2)  แบบประเมินความสามารถการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับเล็กน้อยถึงปานกลางมีคุณภาพความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับเล็กน้อยถึงปานกลางหลังการใช้สูงกว่าก่อนการใช้แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (31 กรกฎาคม 2543). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ เขต
การศึกษา. กรุงเทพฯ:กระทรวงศึกษาธิการ.
ระวิรรณ แซ่หลี. (2558). การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของนักเรียนที่มีความบกพร่อง
ทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลางโดยการใช้โปรแกรมฝึกเพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดใหญ่. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาพิเศษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2550). กรุงเทพฯ: สำนักงานกฤษฎีกา.
รัตนาพร ฐิติกรโกวิท. (2558). การพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ด้านการทรงตัวโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหว
สำหรับเด็กออทิสติก ในศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิไลลักษณ์ ปักษา. (2553). ผลการฝึกด้วยนํ้าหนักของร่างกายและด้วยยางยืดที่มีต่อความแข็งแรงของ
กล้ามเนื้อขาในผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศศิธร ชาลีพรหม. (2553). การให้ความช่วยเหลือทางการศึกษานักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้นและบกพร่องทางการ
เรียนรู้:กรณีศึกษาโรงเรียนซอยแอนเนกซ์ (กาญจนาภิเษก 2). กรุงเทพฯ:สำนักงานเขตสายไหม.
ศิรินทร กาญจันดา. (2553). การศึกษาความสามารถใช้กล้ามเนื้อใหญ่ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
ระดับรุนแรงจากการใช้โปรแกรมการฝึกิจกรรมทักษะกลไกของสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทยร่วมกับกิจกรรมฝึกสมรรถภาพทางกาย(Physical Fitness). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Groft, Melissa Renee. (2006). How do adapted physical education specialists determine how,
what, and where to teach students with autism. Oregon: The new paper Oregon.
Jatala, Sara J. (2004). A districtwide study of the nature and use of curriculum in special
education. (Online). M. S. University of Houston-Clear Lake.
Joanne Hui-Tzu Wang. (2009). A Study on Gross Motor Skills of Preschool Children. Retrieved
November, 15, 2017 from https//doi. org/10.1080/02568540409595052

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย