ภาวะผู้นำและบรรยากาศสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี

ภาวะผู้นำและบรรยากาศสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี

ผู้แต่ง

  • จารุสิริ ทองเกตุแก้ว

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, บรรยากาศสถานศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษา, ครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ  1) ศึกษาภาวะผู้นำและบรรยากาศสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี  2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำและบรรยากาศสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี  จำแนกตามตำแหน่ง  เพศ  อายุ  ระดับการศึกษา  ประสบการณ์ทำงาน เขตพื้นที่  และขนาดสถานศึกษา  3) หาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับบรรยากาศสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา  107  คน  และครู  249  คน  ได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับโดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.870 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวการทดสอบความสัมพันธ์ของเพียร์สัน กับการทดสอบของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำและบรรยากาศสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี ด้านภาวะผู้นำในภาพรวมและรายด้าน 2 ด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ด้านภาวะผู้นำมุ่งงาน 2) ด้านภาวะผู้นำมุ่งคน ด้านบรรยากาศในภาพรวมและรายด้าน 3 ด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ด้านการเป็นแบบอย่าง 2) ด้านความกรุณาปรานี 3) ด้านการมุ่งผลงาน และ 4) ด้านความห่างเหินอยู่ในระดับปานกลาง  2. การเปรียบเทียบภาวะผู้นำและบรรยากาศสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี 2.1 การเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี  จำแนกตามเขตพื้นที่  และขนาดสถานศึกษา  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา  ตำแหน่ง  และประสบการณ์ทำงาน  ไม่แตกต่างกัน 2.2 การเปรียบเทียบบรรยากาศสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี  จำแนกตามเพศ  เขตพื้นที่  และขนาดสถานศึกษา  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  และจำแนกตามระดับการศึกษา  ตำแหน่ง  อายุ  และประสบการณ์ทำงานไม่แตกต่างกัน 3. ภาวะผู้นำกับบรรยากาศสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี ภาพรวมมีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กมล ศิริสลุง. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันราชภัฏเทพสตรี.
กรมการศาสนา. (2542). พระพุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
กรองทิพย์ ทองธรรมชาติ. (2549). บรรยากาศองค์การของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
กระทรวงมหาดไทย สำนักงานปลัดกระทรวง. (2545). สรุปประเด็นผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
กฤช จรินโท. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับภาวะผู้นำของหัวหน้างานในการจัดการความขัดแย้งในหน่วยงาน. วารสารวิชาการ, 7(2), 109 – 121.
กิตติพงศ์ ศรัทธาวาณิชย์. (2548). แบบผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2558). ทักษะทางสังคมใครว่าไม่สำคัญ. สืบค้น เมษายน 4, 2558, จาก http://kriengsak.com/node/1646
เกษม มูลจันทร์. (2546). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: กพล 1996.
โกศล อนุสิม. (2558). แนวทางในการบริหารใจ. สืบค้น เมษายน 5, 2558, จาก
http://kosoltalk.com/biztalk/6-way-to-manage-your-mind
คำเพชร ศิริบูรณ์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อุบลราชธานีเขต 1. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
จันทนา ชุมทัพ. (2548). บรรยากาศองค์การในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
จีระ งอกศิลป์. (2550). คู่มือเตรียมสอบ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ.ภาค ก (2) การประเมินสมรรถนะทางการบริหาร. ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
เฉลิมชัย หาญกล้า. (2546). หลักบริหารการศึกษา. ลพบุรี: สถาบันราชภัฏเทพสตรี.
ชัยวัฒน์ ใจจิตร. (2546). การบริหารงานวิชาการ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2554). การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงองค์การ. ปัตตานี: สถาบันเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ.
ฐิติยา เรือนตระการ. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารและบรรยากาศองค์การใน
สถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันราชภัฏเทพสตรี.
ถวิล อรัญเวศ. (2543). นักบริหารมืออาชีพในยุคเขตพื้นที่การศึกษา.วารสารวิชาการ,14,17 – 18.
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2543). การบริหารผลการดำเนินงาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2543). การมุ่งผลสัมฤทธิ์. สำนักคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
เทพนม เมืองแมน, และสว่าง สุวรรณ. (2546). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป. ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธีระ รุญเจริญ. (2545). การบริหารเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
ธีระ รุญเจริญ, ปราชญา กล้าผจัญ, และสัมมา รธนิธย์. (2545). การบริหารเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
ธีระพงศ์ ธนเจริญรัตน์. (2553). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
นิตย์ สัมมาพันธ์. (2546). ภาวะผู้นำ:พลังขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: อินโนกราฟฟิกส์.
นิภาพรรณ หงส์ชูเกียรติ. (2544). สภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดำเนินงานของศูนย์
พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2550). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส.
บัญชา อึ่งสกุล. (2545, เมษายน). นักบริหารทันสมัย:หลักการประสานสัมพันธ์เชิงบวก. วารสารวิชาการ, 4
(2),22.
ปนัดดา ดิศสกุล. (2558). ผู้บริหารที่จะประสบความสำเร็จ. สืบค้น มกราคม 27, 2558, จาก
http://www.personnel.labur.go.th
ปนัสยา เสียงก้อง. (2549). การรับรู้บรรยากาศองค์การของพนักงานปฏิบัติการบริษัทเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประกอบ กุลเกื้อ, และสิทธิพร ลิ้มบริบูรณ์. (2545). ชุดฝึกอบรมผู้บริหาร:ประมวลสาระการบริหารโดยองค์คณะบุคคล. กรุงเทพฯ: บางกอกสาส์น.
ประภัสร์ จงสงวน. (2546 มกราคม- มิถุนายน).คนเด่น วารสารวิชาการ. 2, 4.
ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2550). สร้างมาตรฐานงานบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: พิมพ์ตะวัน.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. (2546). กรุงเทพฯ: นามมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
พระมหาสุชาติ สุชาโต. (2545). การประพฤติพรหมจรรย์ตามหลักคำสอนพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.
ภารดี อนันต์นาวี. (2551). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มนตรี.
มัญชุมาศ จักรสิรินนท์. (2551). ความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อบรรยากาศสถานศึกษารับเลี้ยงเด็กเอกชนของจังหวัดในเขตตรวจราชการ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ ทฤษฎีการวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รุ่ง แก้วแดง. (2541). ปฏิวัติการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.
วิเชียร วิทยอุดม. (2554). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.
วิเชียร วิทยอุดม. (2549). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.
สงวน สุทธิเลิศอรุณ. (2543). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธิ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักเลขาธิการคุรุสภา. (2549). ภาวะผู้นำทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการคุรุสภา.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2545). ภาวะผู้นำ ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บุ๊คลิ๊งค์.
สุรพล พุฒคำ. (2547). การบริหารสถานศึกษา. ลพบุรี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
เสน่ห์ จุ้ยโต. (2545). องค์การสมัยใหม่. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เสนาะ ติเยาว์. (2543). หลักการบริหาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาคม วัดไธสง. (2547). หน้าที่ผู้นำในการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Blake, Robert R., Mouton, Jane S. (1964). The managerial grid. Houston. Taxas: Gulf Publishing.
Boroch, G. (1988). Effective teaching methods. Columbia: Merrill.
Bronfenbrenner, U. (1986). A lienation and the four worlds of childhood. Phi Delta Kappan, 59, 430-436.
Brown. W.B., & Moberg, D.J. (1980). Organizational theory and management: A Macro approach. New York: Wiley & Sons.
Brunstein, J.C., & Maier, G.W. (2005). Implict and self-attributed motivrs to achieve: Two separate but interacting needs. Journal of Personality and social Psychology, 89, 205-222
Butler, R. (1999). Information seeking and achievement motivation in middle childhood and abolescence: The role of conceptions of ability. Developmental Psychoology, 35, 146-150.
Calabrese, R.L., & Cochran, J.T. (1990). The relationship of alienation to cheating among a sample of American adolescents. Journal of research and Development in Education,23(2), 65-72.
Carlson, R.D. (1995). So you want to develop web-based instruction. New York: McGraw-Hill.
Conger, J.A. (1989). The charismatic leader:Behind the mystique of exceptional Leadership. San Francisco, CA:Jossey-Bass.
Drath, W.H.Palus, C.J. (1994). Making common sense: leadership: As meaning making in a
community of practice.Greenboro, N: center for creative leadership.
Halpin, A.W. (1966). Theory and research in administration. New York:Macmillan.
Halpin, A.W., & Croft, D.B. (1966). The organizational climate of school. Chicago: Midwest Administration Center.
Likert, R. (1976). New way of management conflict. New York:McGraw-Hill.
Owens, Robert G. (1995). Organizational behavior in education (5th ed.) Boston: Allyn and Bacon.
Peter, J.M. (2011). Brazil-U.S. relation, congressional reswerch. New York:Macmilan.
Reddin, William J. (1970). Managerial Effectiveness. New York :McGraw – Hill,
Sergiovanni, F.DC. (1983). The school executive:atheory of administration. New York:Harper
and Row.
Yukl, G. (2002). Leadership in Organizations.5thed. Upper Saddle River, NJ : Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย