การใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง เพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

การใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง เพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • ทิพย์วลี สุขปาน

คำสำคัญ:

วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง, ความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านทักษะการฟังและทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนแบบตอบสนองด้วยท่าทางก่อนและหลังเรียน และ 2) เพื่อวิเคราะห์ความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 โรงเรียนวัดประดับ อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 19 คน โดยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบตอบสนองด้วยท่าทาง 2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการฟังและทักษะการพูดภาษาอังกฤษ จำนวน 40 ข้อ และ 3) แบบประเมินความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษ จำนวน 15 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการฟังและทักษะการพูด ที่เรียนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2. ผลการศึกษาความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.97 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.79 แสดงว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนแบบตอบสนองด้วยท่าทางมีความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
พรสวรรค์ สีป้ อ. (2550). สุดยอดวิธีสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์. แรกขวัญ ครองงาม. (2547). การพัฒนาทักษะฟัง-พูดโดยวิธีการสอนแบบสนองด้วยท่าทาง ระดับชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 3. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต.สาขาการบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์.
วิทยากร เชียงกุล. (2552). รายงานการสังเคราะห์ผลกาวิจัยปฏิรูปการศึกษาของประเทศฟินแลนด์ นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร จีน เวียดนาม และไทย. กรุงเทพฯ : สายธาร. อัดสำเนา.
ศรีเรือน แก้วกังวาน. (2545). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย (เล่ม 2) วัยรุ่น-วัยสูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 8 แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2540). แนวคิดและเทคนิควิธีสอนภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิริลักษณ์ เฟื่องกาญจน์. (2531). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการรู้ความหมาย คำศัพท์และเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยมีเกมประกอบและไม่มีเกมประกอบ. วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อนงค์ เชื้อนนท์. เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ. วันที่ค้นข้อมูล 12 สิงหาคม 2558, เข้าถึงได้จาก http://chinozuke3.multiply.com
Asher, J. (1979). Learning Another Language through Actions : The complete teacher Guidebook. San Jose Califormia Accu Print.
Eko, J. and Tina, A. (2000). TPR in the Primary Classroom. Skills. Retrieved on November 21, 2015. From www.longman-elt.com
Spratt, M., Pulverness, A. and Williams, M. (2006). The TKT teaching knowledge test course. UK: Cambridge University Press.
Murcia, C.M. (1985). Discourse Analysis and the Teaching of Listening. Oxford: Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย