ผลการจัดการเรียนรู้ระบบการเรียนแบบสองภาษา ด้วยวิธีสอนแบบบทบาทสมมติ เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผลการจัดการเรียนรู้ระบบการเรียนแบบสองภาษา ด้วยวิธีสอนแบบบทบาทสมมติ เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้ระบบการเรียนสองภาษา, วิธีสอนบทบาทสมมติบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายในการวิจัยเพื่อ 1) สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ระบบการเรียนสองภาษา ด้วยวิธีสอนบทบาทสมมติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ที่จัดการเรียนการสอนระบบการเรียนสองภาษา ด้วยวิธีสอนแบบบทบาทสมมติ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) ศึกษาทักษะการแสดงบทบาทสมมติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้ระบบการเรียนแบบสองภาษา ด้วยวิธีสอนบทบาทสมมติ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้ระบบการเรียนแบบสองภาษา ด้วยวิธีสอนบทบาทสมมติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนอนุบาลเดิมบางนางบวช (วัดท่าช้าง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ระบบการเรียนแบบสองภาษา ด้วยวิธีสอนบทบาทสมมติ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินทักษะการแสดงบทบาทสมมติ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ระบบการเรียนสองภาษา ด้วยวิธีสอนบทบาทสมมติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.87/82.08 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ระบบการเรียนสองภาษา ด้วยวิธีสอนบทบาทสมมติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ทักษะการแสดงบทบาทสมมติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 ที่จัดการเรียนรู้ระบบการเรียนแบบสองภาษา ด้วยวิธีสอนบทบาทสมมติ อยู่ในระดับดี 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อจัดการเรียนรู้ระบบการเรียนแบบสองภาษา ด้วยวิธีสอนบทบาทสมมติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
References
. (2556). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (แก้ไขฉบับที่ 3 พ.ศ.2553). กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์คุรุสภา.
กรมวิชาการ. (2444). สาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์
เกศสุดา ปงลังกา. (2550). การศึกษาการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติในการพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. สารนิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,
ณัฏฐพงษ์ ทองภักดี. (2550). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับเศรษฐศาสตร์และการบริหารการพัฒนา. กรุงเทพฯ: คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_______. (2552). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนาวรรณ ประจุดทะศรี. (2555). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษและการเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองและการใช้บทบาทสมมติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
นิตยา ดอกกระถิน. (2555). ผลการจัดประสบการณ์แสดงบทบาทสมมติประกอบการเล่านิทานที่มีต่อความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย โรงเรียนวัดสุวรรณนาคี จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
วสิษฐ์ เกษมทรัพย์. (2548). ปัญหาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ตอนการสวนทางของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระบบการศึกษา. วารสารวงการครู, 2(20), 83.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2553).นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
ศันสนะ มูลทาดี. (2558). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีแสดงบทบาทสมมุติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุกัญญา ศิลประสารท. (2544). การพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เสาวภาคย์ ศรีโยธา. (2555). ปัญหาการเรียนภาษาอังกฤษระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยาย โอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อรุโณทัย กิตติธีระรัฒน์. (2551). การจัดกิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2546). หลักการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์,.
Pholsward,R. (2007). Materials design issues for the 1980’s A European point of view in the second language classroom : Direction for the 1980’s. London. : Oxford University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ