การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดลพบุรี

การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • เหมือนฝัน วงเดช

คำสำคัญ:

การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษา, ครู, ขนาดโรงเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดลพบุรี ตามทัศนะของผู้บริหารและครู 2) เปรียบเทียบการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดลพบุรี ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำแนกตามตำแหน่ง และขนาดโรงเรียน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่  ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 356 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.949 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ภายหลัง โดยใช้สูตรของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดลพบุรี จำแนกตามตำแหน่ง โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตร ด้านการดำเนินการบริหารหลักสูตร ด้านการปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร และด้านการสรุปผลการดำเนินงานของสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2. การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดลพบุรี จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตร ด้านการดำเนินการบริหารหลักสูตร ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และด้านการสรุปผลการดำเนินงานของสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านการปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร ไม่แตกต่างกัน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
จำเนียร ศิลปะวานิช. (2544). หลักและวิธีการสอน. กรุงเทพฯ : เจริญรุ่งเรืองการพิมพ์.
ธงชัย ช่อพฤกษา. (2548). การบริหารหลักสูตรของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงแสน.
ประคอง กรรณสูต. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชริน ทับทิม. (2549). ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายวิชาการและครูผู้สอนต่อการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
พิศิษฐ์ เจริญชัย. (2550). การบริหารหลักสูตรขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1 – 2 ตามทัศนะของผู้บริหารและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
มนตรี อุตสาหะ. (2559). รายงานผลการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและการนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดการ
เรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 ปีงบประมาณ 2559. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1. ถ่ายเอกสาร.
วรรณา พูนแก้ว. (2546). แนวทางการใช้หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนนำร่องและเครือข่ายสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครนทรวิโรฒ.
วิภาดา ศรีลาศักดิ์. (2555). การศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนเขตเทศบาลมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์.
วิสิทธิ์ โรจน์พจนรัตน์. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่เก้า พ.ศ. 2545-2549. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.
สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์. (2546). เทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
อุดร กลิ่นชิด. (2554). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 4 สันป่าก่อ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
Chung, Y.C. (1996). School effectiveness and and school-based management: A mechanism for development. Washington, D.C : Falmer.
Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic,
Yamane, T. (1973). Elementary sampling theory. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice- Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย