การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง วัฒนธรรมและภูมิปัญญา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการเรียนรู้รูปแบบการสอนโดยใช้ผังกราฟิกกับรูปแบบการสอนกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม

การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง วัฒนธรรมและภูมิปัญญา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการเรียนรู้รูปแบบการสอนโดยใช้ผังกราฟิกกับรูปแบบการสอนกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม

ผู้แต่ง

  • ณภัทร กาช่อง

คำสำคัญ:

การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้, วัฒนธรรมและภูมิปัญญา, รูปแบบการสอนโดยใช้ผังกราฟิก, รูปแบบการสอนกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วัฒนธรรมและภูมิปัญญา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามรูปแบบการสอนโดยใช้ผังกราฟิก ก่อนกับหลังเรียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วัฒนธรรมและภูมิปัญญา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามรูปแบบการสอนกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม ก่อนกับหลังเรียน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วัฒนธรรมและภูมิปัญญา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามรูปแบบการสอนโดยใช้ผังกราฟิกและรูปแบบการสอนกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอน เรื่อง วัฒนธรรมและภูมิปัญญา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามรูปแบบการสอนโดยใช้ผังกราฟิกและรูปแบบการสอนกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนท่าเรือ “นิตยานุกูล” จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 40 คน รวม 80 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า  1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วัฒนธรรมและภูมิปัญญา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามรูปแบบการสอนโดยใช้ผังกราฟิกหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วัฒนธรรมและภูมิปัญญา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามรูปแบบการสอนกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วัฒนธรรมและภูมิปัญญา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามรูปแบบการสอนโดยใช้ผังกราฟิกและรูปแบบการสอนกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4) ความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอน ของนักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการสอนโดยใช้ผังกราฟิกภาพรวมอยู่ในระดับมากและรูปแบบการสอนกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุม
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
_______. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน: ตามหลักสูตรแกนกลาง. การศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
คมคาย ศุขศิริ. (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการแต่ง บทร้อยกรอง
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างกลุ่มที่จัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้กับแบบ
ผังกราฟิก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต.
ทิศนา แขมมณี. (2545). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธา
การพิมพ์.
_______. (2553). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2549). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ออฟ
เคอร์มีสท์.
รัชฎา เทพประสิทธิ์. (2554). ผลของการใช้ผังกราฟิกในการเรียนการสอนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ
เจตคติของนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ
เชียงราย.
โรงเรียนท่าเรือ“นิตยานุกูล”. (2559). หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนท่าเรือ “นิตยานุกูล” กลุ่มสาระการ
เรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. พระนครศรีอยุธยา: โรงเรียนท่าเรือ“นิตยานุกูล”.
สุปรียา ตันสกุล. (2540). ผลของการใช้รูปแบบการสอนแบบจัดข้อมูลด้วยแผนภาพที่มีต่อสัมฤทธิ์ผล
ทางการเรียนและความสามารถทางการแก้ปัญหา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย