ผลการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีสอนแบบเบญจขันธ์กับวิธีสอนแบบไตรสิกขา

ผลการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีสอนแบบเบญจขันธ์กับวิธีสอนแบบไตรสิกขา

ผู้แต่ง

  • ประคอง มีฤกษ์

คำสำคัญ:

วิธีสอนแบบเบญจขันธ์, วิธีสอนแบบไตรสิกขา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีสอนแบบเบญจขันธ์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีสอนแบบไตรสิกขา ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีสอนแบบเบญจขันธ์กับวิธีสอนแบบไตรสิกขา 4) เจตคติต่อการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีสอนแบบเบญจขันธ์กับวิธีสอนแบบไตรสิกขา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนท่าเรือ “นิตยานุกูล” อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวน 72 คน ซึ่งได้กลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า  1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบเบญจขันธ์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบไตรสิกขา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5  3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบเบญจขันธ์ และที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบไตรสิกขา มีคะแนนเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน 4) เจตคติต่อการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบเบญจขันธ์ และวิธีสอนแบบไตรสิกขา มีคะแนนเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
_______. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จตุพร อยู่ศิริ. (2551). การพัฒนาผลการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ด้วยการค้นพบเรื่องความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
นัฐนภัสสร โสดา. (2555). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบเบญจขันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง พระธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองนาคำวิทยาคม จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นิวัฒน์ ล้ำจุมจัง. (2550). เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สุวิทย์ มูลคำ, และ อรทัยมูลคำ. (2547). 19 วิธีการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและการเรียนรู้โดยการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
วศิน อินทสระ. (2541). พุทธจริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: ทองกวาว.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย