ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เทคโนโลยีกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของบุคลากรสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 7

ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เทคโนโลยีกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของบุคลากรสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 7

ผู้แต่ง

  • Dusida Yodruan

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนบุคคล, ปัจจัยการใช้เทคโนโลยี, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 7 (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 7 (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เทคโนโลยีกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 7 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 7 จำนวน 146 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติค่าไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ  ผลการศึกษา พบว่า (1) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 7 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่อยู่ในระดับมากที่สุดได้แก่ ด้านความรวดเร็วและทันเวลา รองลงมาคือ ด้านความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ด้านคุณภาพของงาน และด้านปริมาณงาน ส่วนด้านที่อยู่ในระดับมากคือ ด้านความถูกต้องแม่นยำ (2) ลักษณะส่วนบุคคล ในภาพรวม ไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 7 ในทุกด้าน (3) ปัจจัยการใช้เทคโนโลยีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านทัศนคติของบุคลากร ส่วนด้านที่อยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านนวัตกรรม ด้านทักษะการปฏิบัติงาน ด้านระบบฐานข้อมูลและเครือข่าย ด้านคุณภาพของเครื่องมือและอุปกรณ์ และด้านความรู้ความสามารถของบุคลากร และปัจจัยการใช้เทคโนโลยี ในภาพรวม ด้านความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อองค์การ ด้านทัศนคติของบุคลากร และด้านความรู้ความสามารถของบุคลากร มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001ด้านระบบฐานข้อมูลและเครือข่าย และด้านคุณภาพของเครื่องมือและอุปกรณ์มีความสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 มีขนาด 0.804 (ค่า R)

References

เกษม ศุภกิจ. (2558). การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการความรู้สำหรับสำนักงานศาลยุติธรรม : กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น. หลักสูตรผู้พิพากษาผู้บริหารชั้นต้น รุ่นที่ 14 สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม, สำนักงานศาลยุติธรรม.
ชีพ จุลมนต์. (2562).เทคโนโลยีกับความยุติธรรม.สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2562,
จาก http://www.the101.world/tij-iglp-workshop-forum/.
ธนภัทร ชาตินักรบ. (2558). วาระทีดีอาร์ไอ: เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการศาลไทย ด้วย e-Court.กรุงเทพธุรกิจ, 19 พฤศจิกายน 2558.
ณัชพล งามธรรมชาติ. (2559). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสายการผลิตบริษัท XYZ จำกัด. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
นนทวัฒน์ โชติพิมาย. (2553). การนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานของศาล กรณีศึกษาศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การนำเสนอผลงานวิจัย หลักสูตร “ผู้พิพากษาผู้บริหารในศาลชั้นต้น” รุ่นที่ 8 วิทยาลัยข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม, สำนักงานศาลยุติธรรม.
นภสร สุดท้วม. (2560). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการอัยการสำนักงานอัยการสูงสุด. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
นิตยา พรมจันทร์.(2562).แรงจูงใจและภาวะผู้นำที่มีผลสัมฤทธิ์ต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในองค์กรยุค 4.0 กรณีศึกษา บริษัท อาซีฟา จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
นิตยา สุริน. (2562). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล กรณีศึกษาสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล สำนักงานศาลยุติธรรม.การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคําแหง.
นิภาพร บุตรเสน. (2562). การพัฒนาองค์การด้วยนวัตกรรม:กรณีศึกษา สํานักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม สังกัดสํานักงานศาลยุติธรรม. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
บวรรัฐ มาเจริญ และประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ. (2563). ความคิดเห็นของบุคลากรหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและบรรยากาศองค์การที่มีอิทธิพล ต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 31(1), 90-100.
ปิยะพล สุวิมล. (2562). การใช้งานแอปพลิเคชันออนไลน์ในการทำงานร่วมกัน. สืบค้นเมื่อ 30เมษายน 2563,จากhttps://rabi.coj.go.th/th/file/get/file/2019.
วีระพันธ์ เขมะนุเชษฐ์. (2560). ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2562, จากhttp://bankusayei.blogspot.com/2015/01/blog-post.htm
ศุภกฤษ บุญจันทร์. (2561). ประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานบัญชีของผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สถาบันวิจัยและพัฒนารพีพัฒนศักดิ์. (2562). การพัฒนาแนวทางในการจัดทำคำพยานของศาลยุติธรรมเพื่อให้สอดคล้องกับกฏหมายพยานหลักฐานที่แก้ไขใหม่. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2563. จาก https://rabi.coj.go.th/th/content/category/detail/id/8195/cid/8196/iid/129275.
สราวุธ เบญจกุล. (2562). ศาลยุติธรรมตั้งเป้าสู่ระบบดิจิทัล D-Court ปี 2020. คม ชัด ลึก, 7 มกราคม.(ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2563, จากhttps://www.komchadluek.net/ news/regional/358034.
สัญญา สุดหอม และคณะ. (2561). การนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานศาลยุติธรรม ศึกษาเปรียบเทียบความเหมือนและแตกต่างระหว่างประเทศไทยกับประเทศออสเตรเลีย. การนำเสนอผลงานวิจัย มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย.
สำนักงานศาลยุติธรรม. (2563). แผนพัฒนาดิจิทัลศาลยุติธรรม พ.ศ. 2562-2564. ออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2563. จาก https://techno.coj.go.th/th/file/get/file/
แสงเดือน ยิ่งสัมพันธ์เจริญ. (2559). การศึกษาการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาระบบงานศาลยุติธรรม.วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เสาวนีย์ มหาชัย ชาคริต สกุลอิสริยาภรณ์ และแก้วตา ผู้พัฒนพงศ์. (2562). การใช้เทคโนโลยีมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร สังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมในจังหวัดนครราชสีมา.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อภิชัย จตุพรวาที. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครคุมประพฤติ จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Green, S. B. (1991). How Many Subjects Dose It Take to Do a Regression Analysis? Multivariate Behavioral Research26(3), 499-510.
James E. C.& Thomas M. C. (2012). Access to Justice Integration with Emerging CourtTechnologies. Harvard Journal of Law & Technology,26 (November), 278-292.
James E., et al. (2012). Using Technology to Enhance Access to Justice. Harvard Journal of Law & Technology,26 (November), 243-256.
Wan Modh Saman, Wan Satirah., Haider Abrar. (2013). E-Court Technology Diffusion in Court Management.19th. Americas Conference on Information Systems, AMCIS.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29