สภาพการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
สภาพการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์, การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศบทคัดย่อ
เนื่องจากประเทศไทยพบการระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในช่วงปลายปี 2563 จึงต้องปิดสถานศึกษาชั่วคราวเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างและให้มีการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ตามความถนัดของครูผู้สอนและนักเรียน การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแอพลิเคชันที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ของครูและ 2 ) สำรวจปัญหาที่ครูพบในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ของนักเรียนโรงเรียนปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิธีการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า ครูใช้แอพลิเคชันไลน์ (Line) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 88.23 และใช้ Google Meet น้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 23.53 และปัญหาที่ครูพบในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์คือ ปัญหาสัญญาณอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการเรียนแบบออนไลน์ถูกพบมากที่สุด ปัญหาทางด้านการเงิน การบริหารจัดการเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง นอกจากนั้นนักเรียนบางส่วนยังต้องทำงานเพื่อแบ่งเบาภาระครอบครัวตอนอยู่ที่บ้าน ผู้วิจัยได้นำเสนอเพื่อให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์และสามารถรับมือกับอุปสรรคอันเหนือความคาดหมายที่อาจเกิดขึ้นได้ในครั้งต่อไป
References
อุตสาหกรรม, 19(2), 1-6.
ธานี สุขโชโต และวรกฤต เถื่อนช้าง. (2563, พฤษภาคม-สิงหาคม). การดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการจัดการ
เรียนการสอนในสถานการณ์โควิด-19. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 8(2),
143-154.
บุญทิพย์ สิริธรังศรี. (2563, กรกฎาคม). การจัดการเรียนการสอนออนไลน์สู่กรอบมาตรฐานวิชาชีพการสอนและ
สนับสนุนการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา. The Journal of Chulabhorn Royal Academy, 2(3),
1-17.
ศูนย์เฉพาะกิจการจัดการศึกษาทางไกลในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). แนวทางการจัดการเรียนการสอน ของโรงเรียนสังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 (COVID-19) ปีการศึกษา 2563. สืบค้น มกราคม 22, 2564 จาก
https://covid19.obec.go.th/
สุรชัย โชคครรชิตไชย. (2563, กันยายน-ธันวาคม). โควิด – 19 : การระบาดระลอกใหม่ ในประเทศไทย
ปลายปี 2563. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 10(3), ง-จ.
Lassoued, Z., Alhendawi, M., & Bashitialshaaer, R. (2020, September). An Exploratory Study of
the Obstacles for Achieving Quality in Distance Learning during the COVID-19 Pandemic.
Education Sciences, 10(232), 1-13.
Marek, M.W., Chew, C.S., & Wu, W.V. (2021, January-March). Teacher Experiences in Converting
Classes to Distance Learning in the COVID-19 Pandemic. International Journal of
Distance Education Technologies, 19(1), 89-109.
Nadeak, B. (2020, May). The Effectiveness of Distance Learning Using Social Media during the
Pandemic Period of COVID-19: A Case in Universitas Kristen Indonesia. International
Journal of Advanced Science and Technology, 29(7), 1764-1772.
WHO. (2020). Archived: WHO Timeline - COVID-19. Retrieved January 17, 2021, from
https://www.who.int/news-room/detail/27-04-2020-who-timeline---covid-19
WHO, UNICEF, & CIFRC. (2020). Key Messages and Actions for COVID-19 Prevention and
Control in Schools. Retrieved January 20, 2021, from https://www.who.int/
docs/default-source/coronaviruse/key-messages-and-actions-for-covid-19-prevention-
and-control-in-schools-march-2020.pdf?sfvrsn=baf81d52_4&download=true
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ