สภาพชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3

สภาพชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3

ผู้แต่ง

  • อัญชลี ทองประสพ 0870542518

คำสำคัญ:

ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, ความคิดเห็นของครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษาและ
2) เปรียบเทียบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำแนกตามขนาดสถานศึกษาตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำนวน 277 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.67–1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.957 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก พบว่ามีระดับการปฏิบัติมากเรียงตามลำดับ คือ ด้านทีมร่วมแรงร่วมใจ รองลงมาคือ ด้านการเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพด้านชุมชนกัลยาณมิตร ด้านโครงสร้างสนับสนุนชุมชน ด้านวิสัยทัศน์ร่วม และด้านภาวะผู้นำร่วม ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำแนกตามขนาดสถานศึกษาโดยภาพรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นั่นคือ ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่ มีการปฏิบัติมากกว่าผู้บริหารสถานศึกษาขนาดกลาง

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.
กรุงเทพฯ: การศาสนา.
. (2551). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ชุนมุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จุลลี่ ศรีษะโคตร. (2557). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู
ในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชุลีพร เกลี้ยงสง. (2556). กลยุทธ์การพัฒนาวัฒนธรรมองค์การเพื่อส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่ง
การเรียนรู้ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและผู้นำการเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.
ชูกำเนิด และคณะ. (2557). ภาวะผู้นำร่วมสมัย = Contemporary leadership. กรุงเทพฯ:
ปัญญาชน.
ณรงค์ฤทธิ์ อินทนาม. (2553). การพัฒนาหลักเทียบสำหรับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นาวารี เจาะอุมา. (2558). วิสัยทัศน์มีความสำคัญต่อการบริการอย่างไร. ค้นเมื่อพฤษภาคม 9, 2561 จาก http://www.guru.google.co.th/guru/thread?tid=7a86f7cdef05e116
ปภาวี พิพัฒนลักษณ์. (2557). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนร่วมตามแนวคิดภาวะผู้นำที่
ยั่งยืนเพื่อเสริมสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเวศ วะสี. (2547). หลักและระบบบริหาร. ขอนแก่น: ภาควิชาบริหารการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประวิต เอราวรรณ์. (2558). การวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่
ส่งผล ต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2553. (2553). ราชกิจจานุเบกษา (เล่มที่ 127). ตอนที่ 45 ก (14
สิงหาคม)
วรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบท
โรงเรียนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วิจารณ์ พาณิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตาพับลิเคชั่น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC
(Professional Learning Community) หรือ “ชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ” สู่สถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
หนูฤทธิ์ ไกรพล. (2558). การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น จังหวัดข่อนแกน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
อุทิศ บารุงชีพ. (2558). การพัฒนาสมรรถนะด้านไอซีทีของครูยุคศตวรรษที่ 21 เพื่อก้าวสู่ชุมชน
แห่งการเรียนรู้. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 11 (2), 189-200.
Forde, E. A. (1967). A theory of leadership effectiveness. York: McGraw-Hill.
Hord, S. M. (1997). Professional learning communities: Communities of continuous inquiry and
improvement. Austin, TX: Southwest Educational Development Laboratory.
Kanold, K. B. (2011). Dynamic manufacturing: Creating the Learning organization. New York:
Free Press.
Kochenour, M. J. (2010). Building the learning organization:A systems approach
to quantum improvement and global success. U.S.A.: McGraw-Hill.
Kiefer, C. D. (2009). The relationship between high-achieving schools and professional learning
community characteristics and the role of the educational leader. Doetoral dissertation. Retrieved from ProQuest Dissertations and Theses database. UMI No. 3297664.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample sizc for research activities.
Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Sergiovanni, T. (1994). Building community in schools. San Francisco, CA: Jossey Bass.
Thompson, S. C., Gregg, L., & Niska, J. M. (2004). Professional learning communities,
leadership, and student learning. Research in Middle Level Education

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29