รูปแบบ รูปแบบการฝึกอบรมของพนักงานฝ่ายขายธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าเขตพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร

รูปแบบการฝึกอบรมของพนักงานฝ่ายขายธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าเขตพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ฮิวฟี เจดาโอะ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การฝึกอบรม, รูปแบบการฝึกอบรม, พนักงานฝ่ายขาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความต้องการในการฝึกอบรมของพนักงานฝ่ายขายธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าเขตพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อสร้างรูปแบบการฝึกอบรมของพนักงานฝ่ายขายธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าเขตพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร และ (3) เพื่อประเมินรูปแบบการฝึกอบรมของพนักงานฝ่ายขายธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าเขตพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย พนักงานฝ่ายขายธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย     ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ปัจจัย (factor Analysis) แบบ Exploratory Factor Analysis (EFA )   ผลการวิจัย พบว่า (1) พนักงานฝ่ายขายธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าเขตพื้นที่ในกรุงเทพมหานครมีความต้องการในการฝึกอบรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ผลการสร้างรูปแบบการฝึกอบรมของพนักงานฝ่ายขายธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าเขตพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ (1) สัมพันธภาพและทีมงาน (2) การสื่อสารและการสร้างความสัมพันธ์ (3) การพัฒนาความคิดในการทำงาน (4) การคิดแบบบูรณาการ (5) การบริหารจัดการ และ (6) การขายและการบริการ และ (3) ผลการประเมินรูปแบบการฝึกอบรมของพนักงานฝ่ายขายธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าเขตพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร พบว่า ความเหมาะสมของรูปแบบการฝึกอบรมของพนักงานฝ่ายขายธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าเขตพื้นที่ในกรุงเทพมหานครในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และวิธีการการฝึกอบรม/กิจกรรมการฝึกอบรม/ตัวชี้วัดการฝึกอบรมของพนักงานฝ่ายขายธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าเขตพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. ( 2559). ธุรกิจขายเครื่องใช้ไฟฟ้า. ค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2559, จากhttp://magazine.dbd.go.th/magazine
กรองกาญจน์ กันทะใจ. (2552). ความต้องการการฝึกอบรมพนักงานของบริษัทนิคอน (ประเทศไทย) จำกัด. งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
เกรียงไกรยศ พันธุ์ไทย. (2553). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงบูรณาการ: กุญแจสู่ความเป็นเลิศ. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 51(3), 239-257.
ชาญ สวัสดิ์สาลี. (2556). คู่มือนักฝึกอบรมมืออาชีพ เทคนิคการฝึกอบรมและการจัดสถานที่ประชุม/ฝึกอบรม. นนทบุรี: สำนักพิมพ์สวัสดิการสำนักงาน ก.พ..
ดาวเรือง สาโดด. (2552). ความต้องการฝึกอบรมของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลหัวเฉียว. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
บรรจง อมรชีวิน. (2556). การคิดอย่างมีวิจารณญาณ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สถาบัน การคิดอย่างมีวิจารณญาณ.
ยุทธนา ธรรมเจริญ, เสาวภา มีถาวรกุล, เชาว์ โรจนแสง, สหัสโรจน์ โรจนเมธา, ประภาศรี สวัสดิ์อำไพรักษ์,ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร,วิเชียร เลิศโภคานนท์ และวุฒิชาติ สุนทรสมัย. (2556.) สัมมนาการจัดการการตลาด (Seminar in Marketing Management) พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
วรณัน พินิจดี. (2558). 7 กระบวนการที่จำเป็นสำหรับนักฝึกอบรมมืออาชีพ. นนทบุรี: บัดดี้ ครีเอชั่น
วิชัย โถสุวรรณจินดา. (2556). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ก้าวใหม่.
สมใจ ลักษณะ. (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สัญญา เคณาภูมิ และเสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร. (2560). กรอบแนวคิดการศึกษาการวางแผนและการบริหารแผน. วารสารการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 4(2), หน้า 389-411.
หัสยา เจริญสุข. (2552). ความต้องการในการฝึกอบรมของพนักงานฝ่ายจัดซื้อ บริษัท โคราชเดนกิ จำกัด. งานนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
Latham, G. and Wexley, K. (1991) Developing and Training Human Resources in Organization. Harper Collins Publishers: New York.
Petryn, M. (2019). The Importance of Human Relations in the Workplace. Retrieved April 16, 2020, form https://smallbusiness.chron.com/ importance-human-relations-workplace-23061.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30