การใช้สถานการณ์จำลองเพื่อพัฒนาทักษะด้านการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
การใช้สถานการณ์จำลองเพื่อพัฒนาทักษะด้านการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
คำสำคัญ:
สถานการณ์จำลอง, ทักษะด้านการทำงานเป็นทีม, นักศึกษาครูบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาเกี่ยวกับทักษะด้านการทำงานเป็นทีมก่อนและหลังการใช้สถานการณ์จำลอง 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเพื่อพัฒนาทักษะด้านการทำงานเป็นทีม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาครูชั้นปีที่ 4 จำนวน 53 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ชุด ได้แก่ แบบประเมินความรู้ความเข้าใจซึ่งมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.80 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.983 และแบบสอบถามความคิดเห็นซึ่งมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.80 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.824 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาเกี่ยวกับทักษะด้านการทำงานเป็นทีม หลังทำกิจกรรมโดยใช้สถานการณ์จำลองสูงกว่าก่อนทำกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเพื่อพัฒนาทักษะด้านการทำงานเป็นทีม ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2559). การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ. สืบค้น ตุลาคม 19, 2561, จาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc-2017-eb01.pdf
สำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น. (2561). การทำงานเป็นทีม. สืบค้น ตุลาคม 19, 2561, จาก http://www.local.moi.go.th/team.html
อุมาพร ทองรักษ์. (2553). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบเกมที่ส่งผลต่อทักษะการทำงานเป็นทีมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชา EEG221 ระบบดิจิตอลและการออกแบบวงจรตรรก. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ