การจัดการสภาพแวดล้อมต่อการบริหารแหล่งเรียนรู้ ของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนอนุบาลเทศบาลอ้อมน้อย 2

ผู้แต่ง

  • สุภัทรา เอี่ยมสังข์ทอง
  • ในตะวัน กำหอม

คำสำคัญ:

การบริหาร, แหล่งเรียนรู้

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการจัดการสภาพแวดล้อมต่อการบริหารแหล่งเรียนรู้ และเพื่อเปรียบเทียบระดับการจัดการสภาพแวดล้อมต่อการบริหารแหล่งเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนอนุบาลเทศบาลอ้อมน้อย 2

ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้มาโดยการสุ่มประชากร ที่ไม่ทราบขนาดประชากรแน่ชัด โดยวิธีการของ ทาโร่ยามาแน่ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ F-Test

            ผลจากการศึกษาพบว่า การจัดการสภาพแวดล้อมต่อการบริหารแหล่งเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนอนุบาลเทศบาลอ้อมน้อย 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยอันดับที่1 คือ การประเมินแหล่งเรียนรู้ รองลงมาคือการนิเทศ กำกับ ติดตามการใช้แหล่งเรียนรู้ และอันดับสุดท้าย คือ การดำเนินการใช้แหล่งเรียนรู้และผลการศึกษาเปรียบเทียบ พบว่าการจัดการสภาพแวดล้อมต่อการบริหารแหล่งเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนอนุบาลเทศบาลอ้อมน้อย 2 มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีการบริหารแหล่งเรียนรู้แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรมสามัญศึกษา. (2540). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน. หน่วยศึกษานิเทศก์. เขตการศึกษา 5 กรุงเทพมหานคร.

กรมวิชาการ. (2539). แนวทางการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กองวิจัยทางการศึกษา.

ฐิตินันท์ บุญตั้ง. (2556). ความคิดเห็นต่อการนิเทศการสอน กำกับติดตามการสอน การประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษาของครูผู้สอน กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนวังเจ้าราม อำเภอบ้านด้านลานหอย จังหวัดสุโขทัย. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยทองสุข.

ในตะวัน กำหอม. (2559). การวิจัยทางการศึกษา เล่ม 1. วิทยาลัยทองสุข กรุงเทพมหานคร.

เบญจมาศ สหะเดช. (2550). การบริหารแหล่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

เปรมวดี ศรีธนพล. (2549). เส้นทางสู่การปฏิรูปการเรียนการสอน : แหล่งเรียนรู้สู่การบูรณาการเรียนการสอน. วารสารวิชาการ, 9(3), 69.

พิชัย เรืองดี. (2558). การศึกษาแนวทางการบริหารแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.

มงคล พลภูมี. (2551). สภาพการดำเนินงานพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาหนองคายเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, มหาสารคาม.

รุจิร์ ภู่สาระ. (2558). การบริหารจัดการสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัทมิตรภาพการพิมพ์และสติวดิโอ จำกัด.

วรพงศ์ ผูกภู่. (2563). องค์ประกอบการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้. บริษัท อาร์แอนด์ดี ครีเอชั่น จำกัด.

วรจักร ใจแกล้ว. (2554). การศึกษาสภาพการบริหารแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไรพรรณี.

ศิริลักษณ์ ศรีสมบูรณ์. (2553). การบริหารแหล่งเรียนรู้ในชุมชนของโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชฎอุดรธานี.

ศิริพร กองแก้ว. (2548). สภาพและปัญหาการบริหารแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน สังกัดเทศบาลจังหวัดลพบุรี.มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

อภิสรา ชูปัญญา. (2556). การบริหารงานวิชาการด้านการวัดผลประเมินผลกลุ่มโรงเรียนพัฒนาท่าจีน อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. สารนิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยวิทยาลัยทองสุข.

อุมาวดี ยลวงศ์. (2553). สภาพปัญหาการบริหารแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30