การศึกษาความต้องการของลูกค้าธุรกิจสีอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาแผนธุรกิจ สำหรับผู้แทนจำหน่ายสีอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
คำสำคัญ:
แผนธุรกิจ, ผู้แทนจำหน่ายสีอุตสาหกรรม, เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความต้องการของตลาดสีอุตสาหกรรม 2) สภาพการแข่งขันของตลาดสีอุตสาหกรรม 3) ลักษณะกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดที่มีการใช้สีอุตสาหกรรม 4) ส่วนประสมทางการตลาดบริการทั้ง 7 ด้าน ที่เป็นที่ต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และ 5) กำหนดแผนกลยุทธ์ธุรกิจผู้แทนจำหน่ายสีอุตสาหกรรม ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง คือ ผู้ประกอบการผู้แทนจำหน่ายสีอุตสาหกรรม 3 ราย และลูกค้าธุรกิจ ทั้งผู้มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อของโรงงานอุตสาหกรรม และช่างผู้รับเหมา/ก่อสร้าง จำนวน 10 ราย ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บข้อมูล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมความต้องการซื้อ/ใช้บริการร้านค้าผู้แทนจำหน่ายสีอุตสาหกรรมของลูกค้าธุรกิจในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกมีความคล้ายคลึงกัน ทั้งในส่วนความต้องการประเภทสินค้า ราคา สถานที่จัดจำหน่าย การส่งเสริมการขาย และบริการด้านต่าง ๆ ดังนั้นกลยุทธ์การตลาดจะต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าธุรกิจในเรื่อง 1) ความหลากหลายของสินค้า ประเภทสีอุตสาหกรรม 2) ผู้ให้บริการในร้านค้ามีความเป็นมืออาชีพ 3) การบริการจัดส่งที่รวดเร็ว 4) การรวมกลุ่มของพันธมิตรทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นช่าง/ผู้รับเหมาก่อสร้าง และผู้แทนจำหน่ายสีอุตสาหกรรมรายอื่น ๆ
References
การบำรุงรักษาและการทดสอบและตรวจสอบภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว. (2561). ราชกิจจานุเบกษา.
เล่ม 135 ตอนพิเศษ 33ง. หน้า 6-8.
การวางระบบท่อก๊าซปิโตรเลียมเหลวและการติดตั้งอุปกรณ์เข้ากับถังเก็บและจ่ายก๊าซในสถานที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียม
เหลว. (2554). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 128 ตอนพิเศษ 100ง. หน้า 17-19.
จตุภัทร์ ตั้งคารวคุณ. (2564). TOA ยึดเป้ารายได้ปีนี้โต 10% รุกเพิ่มช่องทางขาย-ทยอยปรับขึ้น
ราคาสินค้า. สืบค้น มีนาคม 27, 2564, จาก https://www.kaohoon.com/content/429568
จิรวรรณ ตั้งไพฑูรย์. (2559). การวิเคราะห์ความสมนัยระหว่างช่วงวัย ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และความ
ภักดีต่อตราสินค้าร้านขนมหวานจังหวัดเพชรบุรี. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 8(1), 148-158.
ชนิศา มณีรัตนรุ่งโรจน์. (2557). การปรับตัวของธุรกิจครอบครัวค้าปลีกวัสดุก่อสร้างในจังหวัดนครราชสีมา.
วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 8(2), 71-85.
ชรัญญา สุวรรณเสรีรักษ์, อนวัช จิตต์ปรารพ, และรุจิรา สุขมณี. (2561). ความต้องการของลูกค้าด้านส่วนประสม
ทางการตลาดผลิตภัณฑ์เซรามิก ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 28(1), 179-193.
ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2546). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ชุติมา ดวงจันทร์. (2557). การศึกษากระบวนการให้บริการ คุณภาพการบริการ และส่วนประสมการตลาด
บริการ ที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ใช้บริการธนาคารพาณิชย์ไทย ในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล
พลาซ่า ลาดพร้าว เขตจตุจักร. การค้นคว้าอิสระปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ธัญวลัย สุราช. (2550). การศึกษาประสิทธิภาพตัวแทนขายประกันชีวิตในเขตอำเภอเมืองจังหวัดระยอง.
วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
นภัทร ไตรเจตน์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (ร้านโชห่วย)
กรณีศึกษา ในตลาดไท ปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ปิยะ พนาเวชกิจกุล. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการศูนย์บริการข้อมูลทางโทรศัพท์
(Call Center) ของธนาคารไทยพาณิชย์ในประเทศไทยของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร.
การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุจินดา เจียมศรีพงษ์. (2553). ธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม (ร้านโชห่วย): ปัญหาและทางแก้ไข. วารสาร วิทยาการ
จัดการและสารสนเทศศาสตร์, 6(1), 9-23.
สุวิมล มธุรส. (2556). การรับรู้การโฆษณาธนาคารทางโทรทัศน์ของผู้บริโภคในประเทศไทย. วารสาร
การเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ, 3(2), 592-610.
อุมาวดี เดชธำรงค์, วัชรี มะโนคำ, ทวินัน แสนธิสาร, และ ชุมพล สุรพงศกร. (2561, มกราคม-มิถุนายน).
พฤติกรรม ผู้บริโภคและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจ ซื้อสินค้าในร้านค้าปลีก
แบบดั้งเดิมในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎ ลำปาง, 8(1), 173-190.
Odin, Y., Odin, N., & Valette-Florence, P. (2001). Conceptual and Operational Aspects of Brand
Loyalty. An Empirical Investigation. Journal of Business Research, 53(2), 75-84.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ