รูปแบบการบูรณาการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชน ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
การบูรณาการ, เรียนการสอน, ยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอน รูปแบบการบูรณาการเรียนการสอน และผลลัพธ์และผลกระทบจากการบูรณาการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาสาขาวิชาการพัฒนาสังคม ชั้นปีที่ 4 ที่เรียนในรายวิชาการวิจัยทางการพัฒนาสังคม ปีการศึกษา 2563 จำนวน 29 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกต ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนา ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชาการวิจัยทางการพัฒนาสังคม ควรการใช้ประเด็นการวิจัยต่อเนื่องจากรายวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เบื้องต้น และจัดให้มีที่ปรึกษาโครงการวิจัยต่อเนื่องตั้งแต่ชั้นปีที่ 3 ถึงปีที่ 4 รูปแบบการบูรณาการเรียนการสอน แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ (1) การค้นและพัฒนาโจทย์วิจัย (2) การปฏิบัติการวิจัย (3) การถอดบทเรียนและสรุปผล สอดคล้องกับกระบวนการโครงการ 3 ระยะ โดยแต่ละขั้นตอนให้มีส่วนร่วมของชุมชน และผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการบูรณาการเรียนการสอน คือ การบูรณาการเสมือนเป็นเครื่องมือการดำเนินงานโครงการให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย 4.42)
References
คมสันทิ์ ขจรปัญญาไพศาล. (2556). การบูรณาการการวิจัยและการบริการวิชาการแก่สังคมในรายวิชาการพัฒนาความเป็นครูวิชาชีพ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยสกลนคร, 10(51), 1-8.
จันทิมา องอาจ. (2561). การบริหารจัดการการบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี,วารสารราชภัฏราษฎร์ธานี, 5(1), 273-298.
ณัฐนันท์ วิริยะวิทย์ (2561). การเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่นของสาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(2), 82-98.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.ประเวศ วะสี (2561). สัมภาษณ์พิเศษ”นพ.ประเวศ วะสี” ชู “หมู่ป่าโมเดล” พาคนไทยออกจากถ้ำแห่งวิกฤต. ในสยามรัฐ ออนไลน์ : https://siamrath.co.th/n/48366
พัฒนา บุญญประภา และคณะ. (2560). การบูรณาการการจัดการศึกษาเพื่อท้องถิ่นในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศในชุมชน เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย, 8(2), 51-66
มนตรา พงษ์นิล. (2560). การบูรณาการการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา: องค์ความรู้และพัฒนานวัตกรรม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 19(1), 1-15.
มานิตย์ ไชยกิจ. (2557). แนวทางการบูรณาการการเรียนการสอนกับการวิจัยและบริการทางวิชาการแก่สังคมของสถาบันอุดมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(2), 205-213.
สำนักงานกฤษฎีกา. (2547). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121/ตอนพิเศษ 23 ก/หน้า 1/14 มิถุนายน 2547.
สมบัติ ประจญศานต์ และคณะ. (2557). รูปแบบการเรียนการสอนที่บูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการ และการทะนุบํารุงศิลปวัฒนธรรมของสาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 2(2), 215-224.
สำนักงานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2561). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. ฉบับปรับปรุง 11 ตุลาคม 2561.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ