การพัฒนาส่วนประสมการตลาดบริการของผลิตภัณฑ์โอทอปนวัตวิถี ชุมชนกำแพงแสน
คำสำคัญ:
โอทอปนวัตวิถี, การท่องเที่ยว, การตลาดบริการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการส่งเสริมตลาดบริการการท่องเที่ยวแบบโอทอปนวัตวิถี และเสนอแนวทางการพัฒนาส่วนประสมการตลาดบริการของผลิตภัณฑ์โอทอปนวัตวิถีชุมชนกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นนักท่องเที่ยวที่ซื้อผลิตภัณฑ์โอทอปนวัตวิถีชุมชนกำแพงแสน จำนวน 30 รายและผู้ประกอบการ จำนวน 19 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง โดยมีกรอบคำถามตามแนวคิดส่วนประสมทางการตลาดบริการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่าสินค้าโอทอปนวัตวิถีชุมชนกำแพงแสนจำนวน 19 ผลิตภัณฑ์แบ่งได้เป็น 2 หมวด คือ หมวดของกินและของใช้ และพบว่า สินค้าในชุมชนนี้มีส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมอยู่ระดับปานกลางยังไม่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเท่าที่ควร ผลิตภัณฑ์มีความโดดเด่นทางการตลาดบริการบางส่วน ราคาสามารถจับต้องได้ ช่องทางการจัดจำหน่ายยังไม่ทั่วถึง การส่งเสริมการตลาดไม่มีความชัดเจน รูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ต้องได้รับการปรับปรุง กระบวนการเป็นแบบบริหารจัดการกันเอง โดยเฉพาะด้านบุคลากรยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการให้บริการ ผู้ประกอบการต้องให้ความสนใจ และศึกษาตลาดบริการนักท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถี ตลอดจนศึกษาการพัฒนาทางด้านการตลาด ผู้วิจัยหวังว่าผลการวิจัยจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปพัฒนาและปรับใช้เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน และส่งผลให้เศรษฐกิจชุมชนกำแพงแสนเข้มแข็งต่อไป
References
นุจนาถ นรินทร์, เขวิกา สุขเอี่ยม สิทธิ์ ธีรสรณ์, และอนามัย ดำเนตร. (2564). การออกแบบการท่องเที่ยวแบบโอทอปนวัตวิถี เพื่อสร้างเสริมเศรษฐกิจชุมชนกำแพงแสนให้เข้มแข็ง. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ. 4(2). 684–695.
นิสิตา เปาวิมาร. (2555). รายงานการวิจัย เรื่อง พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิคิเนีย มายอร์. (2555). การศึกษาแรงจูงใจการท่องเที่ยวและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ เดินทางมาท่องเที่ยวบ่อน้ำร้อนรักษะวารินและบ่อน้ำร้อนพรรั้ง จังหวัดระนอง. ปริญญานิพนธ์ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุกิจบัณฑิตย์.
วิภาพรรณ ดาราฉาย. (2556). การศึกษาเปรียบเทียบวิจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวในอำเภอเมือง พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของนักท่องเที่ยวชาวไทยกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศรินทร์ทิพย์ คาวาโนเบะ. (2554). แรงจูงใจและพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษาอำเภอเมืองจังหวัด น่าน. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศิริ ฮามสุโพธิ์. (2543). ประชากรกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
ศิริภา กิจประพฤทธิ์กุล. (2556). ส่วนประสมทางการตลาดบริการ ทัศนคติ และแรงจูงใจในการท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางไปท่องเที่ยวที่ประเทศเกาหลีของนักท่องเที่ยวชาวไทยใน กรุงเทพมหานคร. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทธรรมสาร จำกัด.
สิริรัตน์ นาคแป้น. (2555). พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ในการมาท่องเที่ยวเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุกิจบัณฑิตย์.
อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2539). การตัดสินใจ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อรุณี ลอมเศรษฐี. (2554). ปัจจัยทีมิผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการเลือกใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
อัศวิน แสงพิกุล. (2552). การเปรียบเทียบแรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างนักท่องเที่ยวชาวเอเชียและยุโรป. ภาควิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อารี พันธ์มณี. (2546). จิตวิทยาสร้างสรรค์การเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: ใยไหม ครีเอทีฟ กรุ๊ป.
Chen, J. S., Prebensen, N., & Huan T. C. (2015) Determining the motivation of wellness travelers. ANATOLIA: An International. Journal of Hospitality and Tourism Research, 19(1), 103–115.
Chen, J., Prebensen, N., & Huan, T. (2008). Determining the motivation of wellness travelers. An International Journal of Tourism and Hospitality Research, 19(1), 103–115. https://doi.org/10.1080/13032917.2008.9687056
Fluker, M., & Turner, L. N., (2015). Motivation and expectations of the whitewater tourism. Journal of Travel Research, 38, 380–389.
Fluker, M., & Turner, L. (2000). Needs, motivations, and expectations of a commercial whitewater rafting experience. Journal of Travel Research, 38(4), 380–389. https://doi.org/10.1177/004728750003800406
Kloter, P., Bowen, J., Markens, J. & Balonglu, S. (1995). Marketing for hospitality and tourism. 7th Edition. Pearson: United State.
Kotler, P., Bowen, J., Makens, J., & Baloglu, S. (2017). Marketing for hospitality and tourism (7th ed.). Pearson.
McKercher, B., & Wong, D. (2004). Understanding tourism behavior: Examining the combined effects of prior visitation history and destination status. Journal of Travel Research, 43(2), 171–179. https://doi.org/10.1177/0047287504268246
Richards, M. (2004). Object shift and scrambling in North and West Germanic: A case study in symmetrical syntax. University of Cambridge.
Tawil, R. F., & Al Tamimi, A. M. (2013). Understanding Chinese tourists' travel motivations: Investigating the perceptions of Jordan held by Chinese tourists. International Journal of Business and Social Science, 4(17), 164–170.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2022-03-30 (2)
- 2021-12-30 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารลวะศรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ