กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพสำหรับพนักงานผสมเครื่องดื่มในโรงแรม

ผู้แต่ง

  • ลัคนา ชูใจ -

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, พนักงานผสมเครื่องดื่ม, คุณภาพการบริการ, การพัฒนาศักยภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติในการบริการของพนักงานผสมเครื่องดื่มในโรงแรมจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) ศึกษาคุณภาพในการบริการของพนักงานผสมเครื่องดื่มในโรงแรมจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพของพนักงานผสมเครื่องดื่ม     ในโรงแรมจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการรวบรวมข้อมูลจากค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้จัดการแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่ม และพนักงานผสมเครื่องดื่มของโรงแรม โดยคัดเลือกตัวอย่าง จำนวน 14 คน จาก 7 โรงแรม ที่ขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติโรงแรมในจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

           ผลการวิจัย ทัศนคติในการบริการของพนักงานผสมเครื่องดื่มในโรงแรม พบว่า มุ่งเน้นส่งเสริมให้พนักงาน ได้คิด ได้พูด และปฏิบัติต่อกันในเชิงบวก เน้นทำงานร่วมกันแบบครอบครัว การปรับเปลี่ยนตัวเอง สามารถควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก มีทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า มีความภาคภูมิใจในอาชีพ และมีจรรยาบรรณ           ในงาน คุณภาพในการบริการของพนักงานผสมเครื่องดื่มในโรงแรม พบว่า 1) รับฟังข้อเสนอแนะจากผู้รับบริการ               2) ให้บริการที่น่าเชื่อถือไว้วางใจได้ 3) ให้บริการที่เป็นไปตามที่เสนอไว้ 4) การให้บริการที่หลากหลาย 5) เสนอบริการที่เกินความคาดหวัง 6) มุ่งเน้นการให้บริการอย่างดีเลิศในทุกช่วงการบริการ 7) ใส่ใจสร้างสรรค์เมนูเครื่องดื่มเสมอ แนวทางการพัฒนาศักยภาพของพนักงานผสมเครื่องดื่มในโรงแรม พบว่า มี 8 กลยุทธ์ ดังนี้ 1) กลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรเชิงรุก 2) กลยุทธ์การปรับเปลี่ยน 3) กลยุทธ์ผลักดัน 4) กลยุทธ์การมุ่งเน้นการทำงานในระดับราบ 5) กลยุทธ์การมุ่งเน้นคุณค่าในงาน 6) กลยุทธ์การมุ่งเน้นการบริหารความสุข 7) กลยุทธ์การเพิ่มพูนทักษะทางภาษาต่างประเทศ เทคโนโลยีและเรียนรู้วัฒนธรรมร่วม และ 8) กลยุทธ์เพิ่มพูนทักษะเฉพาะทางด้านเครื่องดื่ม

References

จินดาภรณ์ อรจันทร์. (2563, สิงหาคม, 10). ผู้จัดการแผนกเครื่องดื่มโรงแรมเชอราตัน หัวหิน. สัมภาษณ์.

จีระ หงส์ลดารมภ์. (2555). 8k’s + 5k’s: ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน. (ม.ป.ท), กรุงเทพฯ: จีระอคาเดมี.

ธันยพร จารุไพศาล. (2564). ทัศนคติที่สำคัญในการทำงาน. สืบค้น ตุลาคม 28, 2564,จาก www.work withpassion training.com

ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต. มหาวิทยาลัยทักษิณ. 29 (2), 31-48.

วสันต์ กิตติกุล. (2563, กรกฎาคม, 2). นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคตะวันตก (จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์) สัมภาษณ์.

วีราภรณ์ บุตรทองดี. (2559). การศึกษาทัศนคติต่อการทำงานองค์กร และความจงรักภักดีของพนักงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ในจังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระเป็นส่วนหนึ่งของ การศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สถาบันฝึกอบรมเอ็นเทรนนิ่ง. (2564). ทัศนคติเชิงบวกกับงานบริการ. สืบค้น สิงหาคม 10, 2564, จาก http:// www.entraining.net.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2560). การศึกษาแนวโน้มความต้องการแรงงานของตลาดแรงงานในประเทศไทย ช่วงระหว่างปี 60-64. สืบค้น มกราคม 20, 2565, จาก http://eng.rmutsv.ac.th/file/AC/2562_7.pdf

สุรีย์ เข็มทอง. (2561, มกราคม – มิถุนายน). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการบริการในธุรกิจโรงแรมขนาดเล็ก: กรณีศึกษาโรงแรมในจังหวัดเลย. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจสมาคม สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 7 ,1: 39-53.

Chen, F. Y. and Chang, Y. H. (2005, September). Examining airline service quality from a process perspective. Journal of air transport management, 11(2), 79-87.

Countryman, C. and Jang, S . (2006, March). The effects of atmospheric elements on customer impression : The case of hotel lobbies. International Journal of Contemporary Hospitality Management 18(7), 534-545.

Gao, L. (2012). An exploratory Study of the Boutique hotel experience: Research On experience economy and designed customer experience. Master of Science Thesis Purdue University.

Lehtinen, J. and Lehtinen, R. (2007). Service quality: a study of quality dimensions. unpublished working paper: Service Management Institute, Helsinki.

Owolabi, W. C. (2010). Marketing process of hotel services case: transcorp hilton hotel,nigeria. Lahti University of Applied Sciences Faculty of Business Studies. The Degree Program in International Business Bachelor`s Thesis.

Ping, Y. W. (2006, August). Human resource management plays a new role in learning organizations. The Journal of Human Resource and Adult Learning, 4(11), 52-53.

Raymond, A. (2019). Employee Training and Development. New York: Mc Graw Hill Companies, Inc.,The Prohibition Partners.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-27