การวิเคราะห์แนวโน้มอุปสงค์ของผู้บริโภคสำหรับธุรกิจร้านอาหารผู้สูงวัย กรณีศึกษาเขตบางซื่อ ดุสิต และพระนคร

ผู้แต่ง

  • ณิชกานต์ กลับดี -
  • ปรัชญา แพมงคล
  • เขม อภิภัทรวโรดม

คำสำคัญ:

อุปสงค์ผู้บริโภค, ธุรกิจร้านอาหาร, ผู้สูงวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์แนวโน้มอุปสงค์ของผู้บริโภคสำหรับธุรกิจร้านอาหารผู้สูงวัย กรณีศึกษาเขตบางซื่อ ดุสิต และพระนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาอุปสงค์ของผู้บริโภคสำหรับธุรกิจร้านอาหารผู้สูงวัย 2) เพื่อสร้างแบบจำลองธุรกิจร้านอาหารสำหรับผู้สูงอายุ โดยใช้แบบสอบถามลักษณะคำถามปลายปิดแบ่งเป็น 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามปลายปิด แบบตรวจสอบรายการ สอบถามเกี่ยวกับลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 แบบสอบถามปลายปิด แบบคำตอบหลายตัวเลือก สอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 3  แบบสอบถามปลายปิด แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สอบถามเกี่ยวกับอุปสงค์ด้านส่วนประสมทางการตลาดบริการ 7P’s  ส่วนที่ 4 แบบสอบถามปลายเปิดแสดงข้อคิดเห็นและเสนอแนะเพิ่มเติมที่ตรงกับความเป็นจริงของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการใช้บริการเมื่อได้อยู่พร้อมกับครอบครัวใช้บริการมากที่สุดคือร้านอาหารประจำชาติ มีความถี่ในการใช้บริการนาน ๆ ครั้ง ซึ่งได้บริการครั้งละ 2 – 3 คน และมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการใช้บริการมากว่า 501 บาทขึ้นไป ความต้องการร้านอาหารจำแนกตามส่วนประสมทางการตลาดบริการเรื่องลักษณะทางกายภาพของร้านในระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านบุคลากร และด้านราคาตามลำดับ โดยผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ อายุ และรายได้ต่างกัน มีความต้องการร้านอาหารแตกต่างกัน ทั้งนี้ผลการวิเคราะห์กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด (4P’s) มากที่สุดได้แก่ด้านผลิตภัณฑ์ที่ต้องสด สะอาด และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เรื่องราคาร้านอาหารต้องมีการแสดงราคาที่ชัดเจน รวมทั้งด้านสถานที่จะต้องมีที่ตั้งร้านที่สะดวกต่อการเข้าใช้บริการ และเรื่องการส่งเสริมการตลาด ต้องจัดให้มีกิจกรรมการส่งเสริมการขายตามเทศกาล ส่วนของแบบจำลองธุรกิจร้านอาหาร พบว่า ส่วนสำคัญที่สุด ได้แก่ การกำหนดคุณค่าของสินค้าและบริการ ซึ่งทางร้านอาหาร ฯ ต้องเน้นเรื่อง 1) อาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ  2)  การบริการที่ดีต่อผู้สูงอายุ และ 3)  การสนองตอบต่อความต้องการของผู้สูงอายุ เช่น มุมพบปะสังสรรค์ ห้องจัดเลี้ยงรุ่น

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). สถิติผู้สูงอายุ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 แยกตามตำบล. สืบค้น กุมภาพันธ์ 16, 2563 จาก: http://www.dop.go.th,

กิตติภพ สงเคราะห์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเข้าใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

เจียระไน พรสมบูรณ์ศิริ. (2559). ปัจจัยและพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคร้านอาหารญี่ปุ่นระดับพรีเมี่ยมในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณิชกานต์ กลับดี, ปรัชญา แพมงคล และ เขม อภิภัทรวโรดม (2564). การวิเคราะห์แนวโน้มอุปสงค์ของผู้บริโภคสำหรับธุรกิจร้านอาหารผู้สูงวัย กรณีศึกษาเขตบางซื่อ ดุสิต และพระนคร. งานวิจัยงบประมาณเงินรายได้ พ.ศ. 2564. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

เทียนทิพย์ เดียวกี่. (2562). เลือกอาหารโดนใจ สไตล์วัยเก๋า. สืบค้น กุมภาพันธ์ 24, 2563 จาก www. thaihealth.or.th.html.

ธัญมัย ธรรมคุปต์. (2559). ศึกษาตลาด SME อาหารที่รองรับกับผู้สูงอายุชาวไทย เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นันทสารี สุขโต. (ม.ป.ป.) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารจีน. สืบค้น กุมภาพันธ์ 24, 2563 จาก https://www.dpu.ac.th.pdf.

ภัทริดา อาจธัญญกรณ์ และบุศรินทร์ มาตา. (2555). ความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการร้านชาบูตง ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า สาขาลาดพร้าว. คหกรรมศาสตรบัณฑิต. ภาควิชาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ภาวิณี กาญจนาภา. (2554). หลักการตลาด. สำนักพิมพ์ท็อป จำกัด, กรุงเทพมหานคร.

รัชนี โตอาจ. (2558). นิยาม: สังคมผู้สูงอายุ. สืบค้น มกราคม 16, 2563 จาก https://www. stou.ac.th.

วีระพงษ์ ภู่สว่าง. (2560). ความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดของร้านอาหารและเครื่องดื่มชุมชนตรอกวังหลัง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิริกาญจน์ อิทธิปิยวัช และ นิชาภา ทองอยู่. (2561). ความต้องการใช้บริการร้านอาหารสำหรับผู้สูงอายุในเขตจังหวัดนนทบุรี. คหกรรมศาสตรบัณฑิต. ภาควิชาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร คณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). Business Trends ที่จะมาแรงในปี 2017 กับโอกาสทางธุรกิจสำหรับ SMEs. สืบค้น มีนาคม 15, 2565 จาก https://www.kasikornbank.com/th/business/sme

ฤดีรัตน์ สิทธิบริบูรณ์ . (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการและภาพลักษณ์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าของร้านอาหารวอเตอร์ไซด์ รีสอร์ท. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ. (2562). ประชากรสูงวัยและแนวโน้มในอนาคต. สืบค้น พฤศจิกายน 22, 2562 จาก https://intelligence.businesseventsthailand.com.

อัญธิกา แก้วศิริ. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการร้านอาหาร บุฟเฟต์ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. ภาควิชาการบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

Taro Yamane. (1967). Statistics, An Introductory Analysis, 2nd Ed., New York.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30