This is an outdated version published on 2022-12-08. Read the most recent version.

แนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการค้าขายในชุมชนท้องถิ่นเพื่อการต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ณ ตลาดน้ำคลองลัดมะยม จังหวัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • นิตินันท์ ศรีสุวรรณ

คำสำคัญ:

ผู้ประกอบการท่องเที่ยว การพัฒนา ตลาดน้ำคลองลัดมะยม

บทคัดย่อ

ความโดดเด่นของการสะท้อนถึงอัตลักษณ์วัฒนธรรมทางวิถีชีวิตและอาหารไทยท้องถิ่น ทำให้ตลาดน้ำเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับนิยมจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ประกอบการค้าขายในชุมชนท้องถิ่น ในการสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยว การศึกษาวิจัยนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการค้าขายในชุมชนเกี่ยวกับประเด็นการพัฒนาตลาดน้ำคลองลัดมะยมในการต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการค้าขายในชุมชนท่องเที่ยวท้องถิ่น เพื่อการต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์กลุ่มย่อยและสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้นำชุมชน และกลุ่มผู้ประกอบการค้าขายชุมชนท้องถิ่น  ณ ตลาดน้ำ จำนวนรวม 26 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลแบบแก่นสาระ (Thematic Analysis) เรียบเรียงข้อมูล และสรุปผล

ผลการวิจัย 1) ประเด็นปัญหาของผู้ประกอบการค้าขายในชุมชนได้แก่ ปัญหาการสื่อสารภาษาอังกฤษกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ปัญหาด้านขาดสิ่งอำนวยความสะดวกในการต้อนรับนักท่องเที่ยว ปัญหาด้านขาดการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น  และความต้องการผู้ประกอบการค้าขายในชุมชนพบว่า มีความต้องการพัฒนาตนเองโดยเฉพาะภาษาอังกฤษเพื่อการต้อนรับนักท่องเที่ยว หรือเพิ่มเติมความรู้ในเชิงการจัดการท่องเที่ยวท้องถิ่น รวมถึงมีความต้องการในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวให้พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2) แนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการค้าขายเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ได้แก่ (1) การพัฒนาด้านภาษา หรือเพิ่มความรู้เรื่องการจัดการท่องเที่ยว (2) การพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการค้าขายในชุมชนเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (3) การพัฒนาผู้ประกอบการค้าขายประเภทเรือพายให้ตระหนักถึงความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และ (4) การสร้างการตระหนักให้ผู้ประกอบการค้าขายในชุมชนคำนึงถึงการนำเสนอขนบดั้งเดิมวิถีไทยตลาดน้ำเพื่อนำเสนอนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยได้แก่ ความร่วมมือร่วมใจระหว่างภาคีเครือข่ายท่องเที่ยว เป็นพลังสำคัญในพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

References

กรมการค้าภายใน. (2560). ตลาดน้ำคลองลัดมะยม, สืบค้น ตุลาคม 12, 2560, จาก http://mwsc.dit.go.th/ viewFreshMarket.php?id=34882#.Y2N3O3ZBwdU

กรวรรณ สังขกร. (2558). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับวิถีไทย, สืบค้น มิถุนายน 10, 2559, จาก https:// www.slideshare.net/amicsangkakorn/ss-48803224

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). ตลาดน้ำคลองลัดมะยม, สืบค้น ตุลาคม 12, 2560, จาก https://thai. tourismthailand.org/Attraction/ตลาดน้ำคลองลัดมะยม

จิตตินันท์ นันทไพบูลย์. (2555). จิตวิทยาการบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

จุติมา บุญมี, และ สุธีรา ปานแก้ว. (2560). การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวโดยใช้หลัก Service mind เพื่อคุณภาพการบริการและคุณภาพชีวิต, สืบค้น มิถุนายน 10, 2559, จาก https://cht.rmutsv. ac.th/sites/default/files/2018/sar60/sar60-2/CHT%2008-00-2.3-11.pdf

ธนธรณ์ ศรีสวัสดิ์. (2552). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวตลาดน้ำคลองลัดมะยม เขตตลิ่งชัน. วิทยานิพนธ์

สาขาวิชาประกอบการ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.

ปณตนนท์ เถียรประภาสกุล. (2557). กระบวนการเรียนรู้การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การปั้นเครื่องปั้นดินเผา บ้านเขาม่อนแก้ว ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารมนุษย์ศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 31(2), 79-100.

ปรียาภรณ์ รัตนพงษ์. (2556). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนรอบตลาดน้ำคลองลัดมะยม เขตตลิ่งชัน

กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พลอยชมพู ฐิติยาภรณ์. (2553). การสื่อสารชุมชนท่องเที่ยวยั่งยืน: กรณีศึกษาชุมชนตลาดน้ำคลองลัดมะยม

วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2558). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564, สืบค้น สิงหาคม 15, 2560, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สุทธยา สมสุข. (2552). คุณภาพบริการการท่องเที่ยวของตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง. งานวิจัย คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2561). การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน, สืบค้น มกราคม 12, 2561, จาก https://www.tatreviewmagazine. com/article/cbt-thailand/#

อเนก สุวรรณบัณฑิต และภาสกร อดุลพัฒนกิจ. (2548). จิตวิทยาการบริการ (Service Psychology

Comprehension Strategies and Trend). กรุงเทพฯ: เพรสแอนด์ดีไซน์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-08 — Updated on 2022-12-08

Versions