แนวทางจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ต้องขังทัณฑสถานบำบัดพิเศษลำปางสู่การประกอบอาชีพที่เหมาะสม

ผู้แต่ง

  • กมลวรรณ ทาวัน -
  • กาญจนา คุมา
  • ธวัชชัย ทำทอง
  • ชุตินิษฐ์ ปานคำ
  • ปณตนนท์ เถียรประภากุล
  • เจษฎา ทองสุข
  • มนัสเทพ บุญตัน
  • ทนาวุธ ทุ่งพรวญ
  • อดุลย์ อุตตะมะ

คำสำคัญ:

ศูนย์การเรียนรู้, การจัดการศูนย์การเรียนรู้, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

รายงานวิจัยเรื่อง “การสร้างศูนย์เรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ต้องขังทัณฑสถานบำบัดพิเศษลำปางสู่การประกอบอาชีพที่เหมาะสม” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทบทวนผลประกอบการของการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของทัณฑสถานบำบัดพิเศษลำปางตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 2) เพื่อเสนอแนวทางจัดตั้งศูนย์เรียนรู้สำหรับเตรียมความพร้อมผู้ต้องขังสู่การประกอบอาชีพที่เหมาะสม 3) เพื่อประเมินความเชื่อมั่นในการประกอบอาชีพของผู้ต้องขังจากผลประกอบการที่เป็นรายได้ของศูนย์การเรียนรู้ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ใช้ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ต้องขัง จำนวน 30 คน เจ้าพนักงานเรือนจำ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และการจัดเวทีประชุมกลุ่มย่อย ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ พบว่า

1) การทบทวนผลประกอบการจัดตั้งศูนย์เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ต้องขังสู่การประกอบอาชีพที่เหมาะสม นโยบาย/กฎเกณฑ์ของทัณฑสถานที่เน้นระบบการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังตั้งแต่รับตัวจนถึงเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย มีนโยบายในการฝึกทักษะอาชีพและการฝึกอบรมผู้ต้องขังในหลักสูตรต่างๆ โดยร่วมมือกับองค์กร หน่วยงาน และภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ในการฝึกอบรมทักษะอาชีพให้กับผู้ต้องขัง ในการออกแบบศูนย์ฯ มีจุดเด่นด้านการเป็นแหล่งท่องเที่ยว และความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวต่อไปในอนาคตได้

2) แนวทางการสร้างศูนย์เรียนรู้สำหรับเตรียมความพร้อมผู้ต้องขังสู่การประกอบอาชีพที่เหมาะสม ประกอบด้วยกระบวนการสร้าง 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สำรวจความต้องการจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูล ความต้องการของรูปแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านศูนย์ฯ ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาดูงานเพิ่มเติมความรู้ ขั้นตอนที่ 4 การออกแบบศูนย์การเรียนรู้จำนวน 12 ฐานกิจกรรม และขั้นตอนที่ 5 เติมทักษะ/เสริมความรู้ ใน 3 ประเด็นหลัก 1) ปฏิบัติกิจกรรมการสร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของศูนย์การเรียนรู้ฯ 2) เติมความรู้เสริมทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ต้องขัง และ 3) การสร้างเครือข่ายและประชาสัมพันธ์ศูนย์การเรียนรู้

3) ผลการประเมินความเชื่อมั่นในการประกอบอาชีพของผู้ต้องขังจากผลประกอบการที่เป็นรายได้ของศูนย์การเรียนรู้ จำนวน 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านสัตว์เลี้ยง ด้านการผลิตพืช และด้านศูนย์จำหน่ายเครื่องดื่มและขนมของว่าง พบว่าผลประกอบการ ทั้ง 3 ด้านมีผลเป็นที่น่าพอใจ

References

กรมการศึกษานอกโรงเรียน. (2540). การศึกษาผลงานวิจัยทางการศึกษาด้านการบริหารและการจัดการศึกษานอกโรงเรียน. กรุงเทพฯ: ประชาชน.

กรมราชทัณฑ์. (2558). ข้อมูลพื้นฐานของกรมราชทัณฑ์. ในแผนปฏิบัติราชการกรมราชทัณฑ์ พ.ศ. 2559 - 2562 (หน้า 8). กรุงเทพฯ.

กรมราชทัณฑ์. (2561). สถิติผู้กระทำผิดซ้ำ. ค้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562 จาก http://www.correct. go.th/recstats.

กรวรรณ คำกรเกตุ. (2559). แนวทางการพัฒนาโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยของผู้ต้องขัง ในเรือนจำโครงสร้างเบา. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสังคม คณะสังคม สงเคราะหศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, กรุงเทพฯ.

กาญจนา คุมา. (2559). กระบวนการเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้เพื่อพัฒนาส่งเสริมการประกอบอาชีพชุมชนท้องถิ่นแบบยั่งยืนของกลุ่มสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนทิพย์ช้าง จำกัด ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง.วารสารวิจัยทางการศึกษา. 8 (2), 475-486.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2542). การดำเนินการเพื่อกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพฯ : กองวางแผนโครงการการท่องเที่ยวฯ

โกวิทย์ พวงงาม. (2545) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน. เอกสารการบรรยายหลักสูตรการอบรมสารวัตรสืบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล.

สุภางค์ จันทวานิช. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ.(พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวินัย เกิดทับทิม. (2555). การพัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน ด้านเกษตรกรรม : กรณีศึกษาศูนย์ฝึกอบรมเกษตรผสมผสาน บ้านโนนรัง – บูรพา. วิทยานิพนธ์ ปร.ด., มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, กรุงเทพฯ.

Rogers, & Shoemaker, F. 1971. Communication and Innovation : Across Culture Approach. New York : The free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-08