กลยุทธ์การพัฒนากำลังคนต่อการจัดการ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเศรษฐกิจตะวันออก กรณีจังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
กลยุทธ์, การพัฒนากำลังคน, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนากำลังคนให้มีประสิทธิผลเพื่อนำไปส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ผลักดันกลยุทธ์การขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนเพื่อนำไปส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้วยแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมนำไปสู่ การปฏิบัติ 3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การพัฒนากำลังคนเพื่อนำไปส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน ศึกษาโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) พร้อมกับการใช้หลักการ PRA (Participatory Rural Appraisal) โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ชาวชุมชนไร่หลักทอง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรีและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี สถาบันการศึกษา สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือการสัมภาษณ์เชิงลึกและการจัดประชุมกลุ่มย่อย โดยมีผลการวิจัย ดังนี้
1) การพัฒนาจัดกิจกรรมและจัดทำคู่มือการอบรมเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และการบริการอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และสถานการณ์การท่องเที่ยวของประเทศและโลก เพื่อให้เกิดการสร้างความเข้มแข็งต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ในพื้นที่และมีความสอดคล้องกับความต้องการและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในตำบลไร่หลักทอง 2) ปัจจัยที่ผลักดันกลยุทธ์การขับเคลื่อนการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อนําไปส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม คือการมีส่วนร่วมของชุมชน ความเข้มแข็งของผู้นำชุมชนและการสร้างการตระหนักรู้ 3) นำเสนอ กลยุทธ์การขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนที่เหมาะสมกับพื้นที่ ตามกลุ่มต่อไปนี้ คือ แรงงานและธุรกิจ คนท้องถิ่น ในวัยทำงาน กลุ่มผู้สูงอายุ และ กลุ่มเยาวชน เพื่อให้ชุมชนมีแผนกลยุทธ์อย่างเป็นระบบและมีผลต่อการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน โดยภาครัฐควรมีส่วนช่วยโดยการกำหนดนโยบายหรือมีกลยุทธ์กระตุ้นให้เกิดการส่งเสริม จัดการ และพัฒนาการท่องเที่ยว ผ่านการพัฒนากำลังคนด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการในการพัฒนากำลังคนเพื่อท่องเที่ยวและการบริการทำให้เกิดความเข้าใจและนำไปปฏิบัติต่อการท่องเที่ยวในชุมชน
References
โกมินทร์ กุลเวชกิจ. (2558). รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้านเศรษฐกิจโดยยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านดอนดู่ ต.ป่าสังข์ อ.จตุรพักตร์พิมาน จ.ร้อยเอ็ด. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. ปริญญาดุษฏีบัณฑิต(ยุทธศาสตร์พัฒนาภูมิภาค). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสามารคาม : มหาสารคาม.
แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 - 2564) สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2564 จาก https://www.ubu.ac.th/web/files_up/03f2017052216244626.pdf
ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. (ไม่ปรากฏวันที่ เดือน ปี ที่เผยแพร่). การสร้างชุมชนเข้มแข็ง. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2564. จาก www.sites.google.com/site/tamrxyphxhlwngkhxngi/ kar-srang-chumchn-khem-khaeng.
รพีภัทร์ สุขสมเกษม. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนกรณีศึกษาชุมชนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ) สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2564. จาก www.ethesisarchive.library. tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5803010106_5455_4967.pdf
ราณี อิสิชัยกุล. (2557). การจัดการการท่องเที่ยวเฉพาะทาง. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วชิรวัชร งามละม่อม.(2558). ชุมชนเข้มแข็งทางเลือกใหม่ของการพัฒนา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2564. จาก www.file.siam2web.com/trdm/article.
วิชชุตา มาชู และปทิดา โมราศิลป์. (2560). การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเกาะพะงันจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 13(2), 81-104.
สมบูรณ์ ธรรมลังกา. (2556). รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานในจังหวัดเชียงราย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิยาลัยนเรศวร ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2556 สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2564. จาก www.so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/ article/view/9217/8339
Jithendran J Kokkranikal and Tom Baum. (2002). “Human resources development for tourism in rural communities: A case study of Kerala” Asia Pacific Journal of Tourism Research Vol..2 2002 Issue2.
Nadler,L. and Wiggs, G.D. (1989). Managing human resources development. SanFrancisco California: Jossey-Bass.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารลวะศรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ