ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสื่อเสริมออนไลน์วิชา INT1004 คอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผู้แต่ง

  • อุไร ทองหัวไผ่ -

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์, สื่อเสริมออนไลน์, คอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับธุรกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสื่อเสริมออนไลน์วิชา INT1004 คอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของประโยชน์ที่ผู้เรียนได้รับในการเรียนสื่อเสริมออนไลน์วิชา INT1004 คอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษาที่ลงทะเบียนวิชา INT1004 คอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับธุรกิจ ในภาคที่ 2 และภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สื่อเสริมออนไลน์วิชา INT1004 คอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งเป็นการเรียนการสอนทางอิเล็กทรอนิกส์โดยจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 4 ส่วน ได้แก่ เนื้อหาที่สำคัญของกระบวนวิชา การบริหารจัดการเรียนรู้ การติดต่อสื่อสาร และการประเมินผล 2) แบบประเมินความรู้ และ 3) แบบสอบถาม สถิติที่ใช้      ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที

            ผลการวิจัยพบว่า 1)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสื่อเสริมออนไลน์วิชา INT1004 คอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับธุรกิจ หลังเรียนสูงขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  2) ประโยชน์ที่ผู้เรียนได้รับในการเรียนสื่อเสริมออนไลน์วิชา INT1004 คอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับธุรกิจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (MEAN=3.88, S.D.=0.84) โดยผู้เรียนมีความคิดเห็นว่าสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้มากที่สุด (MEAN=4.11, S.D.=0.92) รองลงมาได้แก่ ประหยัดเวลาในการเรียนรู้ (MEAN=3.98, S.D.=0.98) และได้รับความรู้และความเข้าใจในเนื้อหาที่สำคัญมากขึ้น (MEAN=3.75, S.D.=1.01) ตามลำดับ

References

ชาตรี นิลน้ำเพชร. (2563). สถาบันคอมพิวเตอร์ แจงสอนออนไลน์ซัมเมอร์ เร่งนำกระบวน วิชาเข้าระบบ รองรับการเข้าเรียนของนักศึกษา. ข่าวรามคำแหง, 50(1), 1-2.

คมสิทธิ์ สิทธิประการ และคณะ. (2561). ผลสัมฤทธิ์การเรียนการอ่านขั้นสูง โดยการเรียนด้วยบทเรียน ออนไลน์. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. สืบค้น มีนาคม 31, 2564 จาก https://riss.rmutsv.ac.th/project/?id=2769.

เจริญ ภูวิจิตร์. (2021). การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล. สืบค้น ธันวาคม 18, 2564 จาก http://www.nidtep.go.th/2017/publish/doc/20210827.pdf.

บุญส่ง นิลแก้ว. (2541). การประเมินโครงการทางการศึกษา. ภาควิชาประเมินผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พริ้มเพรา กันธิยะ, มรกต กำแพงเพชร, และสุชารัตน์ กู้เกียรติสกุลมั่น. (2560). ปัจจัยความสำเร็จในการใช้งาน ระบบ Application SMART ของ Merchandiser : กรณีศึกษา บริษัท ดีเคเอสเอช สมอลลาน ฟิลด์ มาร์เก็ตติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 5 “งาน วิชาการรับใช้สังคม” มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

พลอยณัชชา เดชะเศรษฐ์ศิริ. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาภาวะผู้นำและการจัดการสมัยใหม่โดยใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์. The Golden Teak : Humanity and Social Science Journal (GTHJ.), 22(พิเศษ) : 114-123.

มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2562). วิสัยทัศน์และพันธกิจ. สืบค้น มีนาคม 31, 2564, จาก http://www.ru.ac.th.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

อุไร ทองหัวไผ่ และ คณะ. (2563). คอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Delone, W. H., & Mclean, E. R. (2003). The DeLone and McLean model of information system success: a ten-year update. Journal of management information system, 19(4), 9-30.

Holsapple, C. W., & Lee-Post, A. (2006). Defining, assessing, and promoting e-learning success: An information systems perspective. Decision sciences journal of innovative education, 4(1), 67-85.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-08