พฤติกรรมและปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการใช้บริการ อินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้งของคนวัยทำงาน

ผู้แต่ง

  • วิณัฐดา ไชยยาสมบัติ Nation university
  • ฑัตษภร ศรีสุข
  • เถลิงศักดิ์ สุทธเขต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของคนวัยทำงานและปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง เพื่อเป็นแนวทางสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง กลุ่มคนวัยทำงานเพิ่มขึ้น เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยสุ่มแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและสถิติวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ

ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมของคนวัยทำงานภาพรวม ไม่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง (F=0.550, .059) โดยพฤติกรรมที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง คือ ธนาคารที่เลือกใช้บริการ (F=2.480, .044*) และความถี่ในการใช้บริการต่อเดือน (F=5.101, .024*) ส่วนพฤติกรรมที่ไม่มีผลต่อความเชื่อมั่น คือ ประเภทธุรกรรมที่ใช้บริการ (F=0.393, .676) ช่วงเวลาการใช้บริการ (F=1.397, .248) วัตถุประสงค์ในการใช้บริการ (F=1.693, .185) สิ่งที่กระตุ้นต่อการใช้บริการ (F=2.305, .130) และช่องทางการใช้บริการ (F=2.357, .096) ตามลำดับ ผลการศึกษาปัจจัยแรงจูงใจมีผลต่อความเชื่อมั่นในการ    ใช้บริการอินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้งของคนวัยทำงาน ร้อยละ 76.10 (R2=76.10) ทุกด้านมีผลต่อความเชื่อมั่น ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ของการชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง (t=13.115, .000*) ค่าธรรมเนียมในการใช้บริการ (t=6.329, .000*) การโฆษณาที่เป็นประโยชน์ (t=5.511, .000*) และ ผลิตภัณฑ์ที่ให้บริการ (t=2.674, .008*) ตามลำดับ และแนวทางสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้งกลุ่มคนวัยทำงาน สำคัญมากที่สุด    คือ ความปลอดภัยของระบบ (=4.34, S.D=0.65) รองลงมา ได้แก่ ด้านความสะดวก (=4.41, S.D=0.64) ด้านการยอมรับเทคโนโลยี (=4.37, S.D=0.61) ด้านความมีประสิทธิภาพของระบบ (=4.27, S.D=0.67) และด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (=4.20, S.D=0.73) ตามลำดับ

References

จุฑาภรณ์ ธุระกิจ. (2562). ความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อธนาคารหลังการรวมกิจการของ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน ) และธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระสาขาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2562.

เจษฎา ศรีเพ็ชร และ มนตรี โสคติยานุรักษ์. (2564). สังคมไร้เงินสด: จากเศรษฐกิจแบบใช้เงินสดสู่เศรษฐกิจแบบไร้เงินสดในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ ปีที่ 6 ฉบับที่ 7 (กรกฎาคม 2564). หน้า 83-98.

ทศพล ต้องหุ้ย และ ธนพล กองพาลี. (2563). มุ่งสู่เศรษฐกิจไร้เงินสด: พฤติกรรมผู้บริโภคและโอกาสของธุรกิจไทยช่วงโควิด 19. ฝ่ายนโยบายระบบการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAnd Publications /DocLib_/Article_21Jul2020.pdf เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2565.

ธนพร คําทิพย์ และ รวิดา วิริยกิจจา. (2561). แรงจูงใจและพฤติกรรมในการใช้บริการ Mobile-Banking ของธนาคารออมสิน กรณีศึกษา ธนาคารออมสิน จังหวัดเพชรบูรณ์. ในการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยรังสิต ปีการศึกษา 2561. หน้า 743-758.

นันทภัค แต่รุ่งเรือง. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นในการใช้แอปพลิเคชัน KMA ของลูกค้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2562.

วิชาดา ไม้เงินงาม และ สวรรยา ธรรมอภิพล. (2564). พฤติกรรมและการยอมรับเทคโนโลยีการใช้บริการธนาคารบนโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการกลุ่มเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์ ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2564. หน้า 63-69.

วริสรา วรยศ (2562). การรับรู้และพฤติกรรมการใช้บริการ KTB Netbank ของลูกค้าในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

สุริยน การะเวก. (2564). คุณภาพการบริการ ความภักดีของผู้ใช้บริการ ที่ส่งผลต่อการสื่อสารแบบปากต่อปากในการทำธุรกิจโต๊ะจีน ในจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2564.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3d ed. New York: John Wiley and Sons Inc.

Frederick, Herzberg et al. (1959). The Motivation of work. New York: John Wiley & Sons.

Kotler, P. (1999). Marketing management: An Asian perspective (2nded.). New Jersey: Prentice Hall.

Larzelere, R.E.; & T.L. Huston. (1980). The Dyadic Trust Scale: Toward Understanding Interpersonal Trust in Close Relationships. Journal of Marriage and the Family. (43): 595-604.

Mishra, A. K. (1996). Organizational responses to crisis: the centrality of trust. In R. M. Kramer and T. R. tyler (eds.), Trust in organizations: Frontiers of theory and research, pp. 261- 287. Thounsand Oaks, CA: Sage.

Thomas, H. et al. (2013). Master Card Advisors' Cashless Journey The global journey from cash to cashless. Retrieved July 1, 2022, from https://newsroom.mastercard.com/wp-content/uploads/2013/09/CashlessJourney_WhitePaper_FINAL.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30