มูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์และคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ที่ตอบสนองต่อ ความพึงพอใจในการใช้งานด้านบรรจุภัณฑ์อาหาร

ผู้แต่ง

  • วรเฉลิม วงค์ปัน -
  • ฑัตษภร ศรีสุข
  • วราลักษณ์ ศรีกันทา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความพึงพอใจรูปแบบบรรจุภัณฑ์อาหารที่สร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ 2) ศึกษามูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ที่ตอบสนองความพึงพอใจต่อการใช้งาน
ด้านบรรจุภัณฑ์อาหาร และ 3) ศึกษาคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ที่ตอบสนองความพึงพอใจต่อการใช้งานด้านบรรจุภัณฑ์อาหาร ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากประชากรที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ ในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 400 ตัวอย่าง ด้วยการสุ่มแบบบังเอิญ ใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ

ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจตะกร้ากลมตาถี่ มากที่สุด รองลงมา ตะกร้ากลมตาห่าง ตะกร้าสี่เหลี่ยมตาถี่ และตะกร้าสี่เหลี่ยมตาห่าง ตามลำดับ ผลการศึกษามูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ที่ตอบสนองความพึงพอใจต่อการใช้งานด้านบรรจุภัณฑ์อาหาร ภาพรวมระดับมากที่สุด
มีความพึงพอใจด้านวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านแนวคิดผลิตภัณฑ์ ด้านคุณค่าผลิตภัณฑ์ และด้านการเข้าถึงความต้องการผู้ใช้งาน ตามลำดับ และผลการศึกษาคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่             ที่ตอบสนองความพึงพอใจต่อการใช้งานด้านบรรจุภัณฑ์อาหาร ภาพรวมระดับมากที่สุด มีความพึงพอใจ
ด้านผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมมากที่สุด รองลงมาด้านความสวยงามโดดเด่น ด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ และด้านความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์ ตามลำดับ ผลทดสอบสมมติฐาน พบว่า มูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์มีผลต่อความพึงพอใจการใช้งานด้านบรรจุภัณฑ์อาหาร ระดับร้อยละ 49 โดยมีผลมากที่สุดด้านวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ และคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์มีผลต่อความพึงพอใจใช้งานด้านบรรจุภัณฑ์อาหาร ระดับร้อยละ 65 โดยด้านที่มีผลมากที่สุดด้านผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม

References

คณาธิป เข็มทอง และคณะ. (2562). การศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจของลูกค้าที่ซื้อคอนโดมิเนียมระดับไฮเอนด์ ของบริษัทชั้นนำทั้ง 3 บริษัท บนถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์. 13(30), 153-155.

จรัสศรี โนมี, วรีวรรณ เจริญรูป และจิตรานุช ชัยนันท์. (2562). การเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มตะกร้าหวายบ้านทาทรายมูล ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการรับใช้สังคม มทร.ล้านนา. 3(2) 17.

นริศรา ลอยฟ้า และคณะ. (2563). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการเพิ่มช่องทางการตลาด ผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าท้องถิ่น จังหวัดศรีสะเกษ. รายงานวิจัยคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ.

นิชาวดี ตานีเห็ง. (2562). การสร้างแบรนด์และการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผลิตภัณฑ์จักสานจากเตยหนามสู่การแข่งขันเชิงพาณิชย์ภายใต้แนวคิดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชุมชนพงบูโล๊ะ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. รายงานวิจัยคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

พรเทพ อยู่ญาติวงศ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) สาขาพุทธมณฑลสาย 5. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม.

พรรณราย อินทุรัตน์. (2563). ความพึงพอใจต่อการปรับตัวศูนย์อาหารในมุมมองผู้บริโภคช่วงสถานการณ์ โควิด-19 ศึกษาเฉพาะกรณี ธุรกิจการค้าในจังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พรพิมล ศักดา และบวร เครือรัตน์. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทของใช้จากวัสดุธรรมชาติของกลุ่มอาชีพเสริมบ้านสุขเกษม ตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสิน.

วารุณี ปุผาโล. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้ามือสองผ่านทางเฟซบุ๊กในประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม.

วงศ์ธีวา สุวรรณิน. (2562). แนวทางการเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชนบนรากฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนต้นแบบในจังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศราวุธ พจนศิลปะ. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0 ของจังหวัดเพชรบุรี. วารสารบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม. 14(2), 41-55.

องใบฏีกาณภัทร เพื๊อกหึ่ว (พานิช), ภูริวัจน์ ปุณยวุฒิปรีดา และ อุบล วุฒิพรโสภณ. (2564). การพัฒนารูปแบบบรรจุผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าชุมชนยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์. 6(2), 156-157.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3d ed. New York: John Wiley and Sons Inc.

Etzel, Walker and Stanton. (2001). Marketing. 12th ed. New York : McGraw-Hill Companies, inc.

HONG THAI. (2565). บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกและประเภทของบรรจุภัณฑ์ที่มีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจ SME. สืบค้น กรกฎาคม 31, 2564, จาก https://hongthaipackaging.com.

Kotler, P. (2000). Marketing management: Analyzing consumer marketing and Buyer behavior (The Millennium). New Jersey: Prentice Hall.

Likert Scale. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic,

M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30