รูปแบบการสื่อสารบนพื้นที่เสมือนจริงเพื่อเพิ่มศักยภาพการประชาสัมพันธ์ ขององค์การทางการกีฬา
คำสำคัญ:
พื้นที่เสมือนจริง, สื่อสังคมออนไลน์, การประชาสัมพันธ์, การเปิดรับข่าวสาร, การรับรู้บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและกลวิธีการสื่อสารบนพื้นที่เสมือนจริงของนักศึกษามหาวิทยาลัย 2) เพื่อสร้างรูปแบบประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ที่เหมาะสมในการประชาสัมพันธ์องค์กรทางการกีฬาในปัจจุบัน โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) ซึ่งผู้วิจัยจะใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและใช้การวัดผลครั้งเดียว (One-Shot Descriptive Study) จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 400 คน ที่เป็นนิสิตนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสื่อสารบนพื้นที่เสมือนจริง ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพการประชาสัมพันธ์องค์การ
ทางการกีฬา ควรมีลักษณะของข่าวสาร ดังนี้ 1) มีข้อความ และรูปภาพ/อินโฟกราฟิก 2) ใช้ภาษาระดับกึ่งทางการ 3) มีภาพประกอบสวยงาม ชัดเจน 4) มีช่องทางติดต่อ-สอบถาม 5) เข้าถึงได้สะดวกรวดเร็ว 6) รูปแบบของข่าวสารควรเหมาะสมกับการใช้งานผ่านมือถือแบบสมาร์ทโฟน ทั้งนี้ ช่องทางการสื่อสารบนพื้นที่เสมือน
ควรเลือกสื่อสารผ่านแอปพลิเคชั่น Facebook YouTube และ Twitter โดยควรนำเสนอในช่วงเวลาระหว่าง 18.00 - 24.00 น. เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารการประชาสัมพันธ์เข้าถึงผู้รับสารได้มากที่สุด และสามารถเพิ่มการรับรู้และการเปิดรับข่าวสารได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
References
กายกาญจน์ เสนแก้ว. (2560). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของ Gen-X ใน กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ.
ณฤทธิ์ พงษ์ศรี. (2561). การแสดงตัวตนของผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์บน Facebook ของ Generation C ในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์.
พรพรรณ ประจักษ์เนตร. (2557). นวัตกรรมการสื่อสารและการขยายพลังอำนาจในการอธิบายของทฤษฎีการสื่อสารจาก “พื้นที่โลกจริง” ไปสู่ “พื้นที่เสมือนจริง”. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า. ฉบับปฐมฤกษ์. 33-48.
พิพัฒธนพงษ์ วัฒนกัลยากุล. (2561). การศึกษาพฤติกรรมการสื่อสาร การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อสร้างเครือข่ายกลุ่มแฟนคลับหมอลำ: กรณีศึกษาเฟสบุ๊ก แฟนเพจกลุ่ม “เทพไหล”. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน.
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร (2533). การสื่อสารกับสังคม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร (2550). การจัดการทางการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: ประสิทธิ์ภัณฑ์แอนด์พรินติ้ง.
เสรี วงษ์มณฑา (2542). กลยุทธ์การตลาด: การวางแผนการตลาด. กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์จำกัด.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2561). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ.2561. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สืบค้นจาก http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านICT/เทคโนโลยีในครัวเรือน/2561/ ict61-CompleteReport-Q4.pdf.
เอกชญงค์ พรขจรกจิกุล. (2558). อัตลักษณ์ของผู้ใช้งานบนสังคมออนไลน์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, สาขาวิชาทัศนศิลป์.
Berger, P. L., and Luckmann, T. (1966). The Social construction of Reality: A Treatise in The Sociology of Knowledge. New York: Anchor.
Boyd, D. (2561). It’s complicated: the social lives of networked teens. เข้าใจโลกใหม่ของวัยรุ่นยุควุ่นเน็ต. (ลลิตา ผลผลา, แปล). กรุงเทพฯ: บุ๊คสเคป.
Gray, D. E. (2551). Doing research in the real world: Sage.
Miller D. et all. (2562). How the world changed Social Media. Why we post ส่องวัฒนธรรมโซเชียลมีเดีย ผ่านมานุษยวิทยาดิจิทัล. (ฐณฐ จินดานนท์, แปล). กรุงเทพฯ: บุ๊คสเคป.
Rheingold, H. (2536). A Slice of Life in My Virtual Community. In L. M. Harasim (Ed.), Global Networks, Computer and International Communication (pp. 58).
Schutz, A. (1970). On Phenomenology and Social Relations. Chicago: University of Chicago Press.
Van Dijk, J. (2555). The network society: Sage Publications.
Flippo E.B (1966). Management A Behavioral Approach. New York: Allyn and Bacon.
Good Cater V. (1973). Dictionary of Education. New York: Mcgraw – Hill Book Company.
Lippmann R., (1989) Review of Neural Networks for Speech Recognition, Neural Computation, Spring Vol.1 No.1. Massachusetts: Massachusetts Institute of Technology.
Mcguire WJ, and Millman S. (1965). Anticipatory belief lowering following forewarning of a persuasive attack. Journal of Personality and Social Psychology.
Patrick Meredith (1961). Learning, Remembering and Knowing. London: English Universities Press.
Watson and Johnson (1972). Social psychology; issues and insights. Philadelphia: Lippincott.
Yamane Taro (1967). Elementary Sampling Theory. New Jersey: Prentice-Hall INC.
Yamane Taro (1970). Statistic : An Introductory Analysis. New York: Mcgraw – Hill Book Company.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารลวะศรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ