การยกระดับการท่องเที่ยวเสน่ห์มรดกวัฒนธรรมผ่านการออกแบบและเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์เมืองชากังราว จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • รัชนีวรรณ บุญอนนท์ สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงพชร
  • ยุชิตา กันหามิ่ง สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงพชร
  • ประภัสสร กลีบประทุม

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, มรดกวัฒนธรรม, การเล่าเรื่อง, เมืองชากังราว, กำแพงเพชร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสังเคราะห์และคัดเลือกมรดกวัฒนธรรมที่โดดเด่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เมืองชากังราว จังหวัดกำแพงเพชร  2) เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเสน่ห์มรดกวัฒนธรรมผ่านการออกแบบและเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์เมืองชากังราว จังหวัดกำแพงเพชร และ 3) เพื่อสร้างกลไกการยกระดับการท่องเที่ยวเสน่ห์มรดกวัฒนธรรมผ่านการออกแบบและเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์เมืองชากังราว จังหวัดกำแพงเพชร เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการสังเคราะห์และคัดเลือกมรดกวัฒนธรรมที่โดดเด่น โดยใช้แบบสอบถามถามประชาชนท้องถิ่นในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 400 คน และจัดสนทนากลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 12 คน การยกระดับการท่องเที่ยวเสน่ห์มรดกวัฒนธรรมผ่านการออกแบบและเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์เมืองชากังราว จังหวัดกำแพงเพชร เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการจัดสนทนากลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 12 คน ใช้แบบสอบถามถามนักท่องเที่ยว จำนวน 398 คน และใช้ข้อมูลทุติยภูมิประกอบในการเขียนรายงาน ส่วนการสร้างกลไกการยกระดับการท่องเที่ยวเสน่ห์มรดกวัฒนธรรมผ่านการออกแบบและเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์เมืองชากังราว จังหวัดกำแพงเพชร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการจัดสนทนากลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 20 คน  การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ในรูปค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบดังนี้ 1) การสังเคราะห์และคัดเลือกมรดกวัฒนธรรมที่โดดเด่น พบว่า มีมรดกวัฒนธรรมที่โดดเด่นของเมืองชากังราว จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 6 แห่ง ดังนี้ (1) อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร (2) วัดพระบรมธาตุนครชุม  (3) งานประเพณีนบพระ-เล่นเพลง (4) วัดวังพระธาตุ (5) งานประเพณีสารทไทยกล้วยไข่ และ (6) ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร 2) การยกระดับการท่องเที่ยวเสน่ห์มรดกวัฒนธรรมผ่านการออกแบบและเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์เมืองชากังราว จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า ควรเล่าเรื่องผ่านสื่อที่สามารถนำมาเป็นกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามามีส่วนร่วม ดังนั้น ควรมีการออกแบบและเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์เมืองชากังราว จังหวัดกำแพงเพชร ผ่านสินค้าของที่ระลึกใน 10 รูปแบบ และ 3) การสร้างกลไกการยกระดับการท่องเที่ยวเสน่ห์มรดกวัฒนธรรม    ผ่านการออกแบบและเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์เมืองชากังราว จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า มี 5 แนวทาง ดังนี้ (1) การผลิต  (2) การจำหน่าย  (3) การประชาสัมพันธ์  (4) การใช้เป็นของที่ระลึก  และ (5) การใช้เทคโนโลยี QR Code

References

กรกนก นิลดำ. (2563). การสร้างการเล่าเรื่องของแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดเชียงราย. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 14(2), 109-135.

กรมการท่องเที่ยว. (2563). สถิตินักท่องเที่ยว. สืบค้น พฤศจิกายน 28, 2565 จาก https://www.mots.go.th.

จังหวัดกำแพงเพชร. (2565). ประวัติความเป็นมาของจังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: อัดสำเนา.

ธนะรัตน์ ทับทิมไทย. (2559). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. สืบค้น พฤศจิกายน, 30, 2565 จาก http://www.Suphanburicampus.dusit.ac.th.

ธนนันท์ บุ่นวรรณา. (2565). การจัดการมรดกทางวัฒนธรรม. สืบค้น ตุลาคม, 20, 2565 จาก https://1tambon.kku.ac.th./files/km_items/files/65.

ประคอง กรรณสูต. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุลีพร คําชมภู. (2561). การออกแบบบรรจุภัณฑ์ของฝากเชิงท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 9(1), 177-188.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร. (2564). ประชากรทะเบียนราษฏร์. สืบค้น กันยายน, 30, 2565 จาก http://hdc.kpo.go.th/hdc/reports/report.php.

เอกกนก พนาดำรง. (2559). การเขียนเรื่องเล่า ด้วยเทคนิคการเล่าเรื่อง (Story telling). วารสารเวชบันทึกศิริราช, 9(3), 194-196.

Richards, Greg. (1995). Cultural Tourism in Europe. UK: Biddles Ltd., Guildford.

UNESCO. (1972). Convention Concerning the Protection of World Cultural and Natural Heritage. Paris : UNESCO. Retrieved December 26, 2565, from http://whc.unesco.org.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-01