ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อในบริบทของการตลาดดิจิทัล: กรณีศึกษานักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • รัฐ ใจรักษ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การตลาดดิจิทัล, ความตั้งใจซื้อ, ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้สำรวจปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อในบริบทแบบการตลาดดิจิทัลซึ่งเกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าหรือบริการในระบบนิเวศดิจิทัลที่แวดล้อมไปด้วยอุปกรณ์ดิจิทัลและวิธีการเข้าถึงที่หลากหลาย ดังนั้นการซื้อขายในการตลาดดิจิทัลจึงแตกต่างจากบริบทของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบดั้งเดิม งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณโดยการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ภายหลังการจัดเก็บแบบสอบถามจากนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 213 คน ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ซื้อสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางออนไลน์ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ปัจจัยจากข้อมูลที่เก็บได้ พบว่ามีปัจจัยทั้งหมด 3 ปัจจัยที่สามารถส่งผลต่อความตั้งใจซื้อในการตลาดดิจิทัลได้ หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อในการตลาดดิจิทัลเมื่อเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านการมอบประสบการณ์ใหม่ 2) ปัจจัยด้านการสร้างกระบวนการใหม่และการเชื่อมโยงพันธมิตร และ 3) ปัจจัยด้านการดูแลลูกค้า การวิจัยในอนาคตควรพิจารณาใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มประชากรผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเพื่อให้ได้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นและเสนอภาพรวมที่ครอบคลุมการอธิบายปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อในบริบทการตลาดดิจิทัลในระดับประเทศ รวมถึงควรศึกษาปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อความตั้งใจซื้อในบริบทการตลาดดิจิทัลต่อไป

References

กุลฑลี รื่นรมย์. (2561). การกำหนดปัญหางานวิจัยด้านการตลาดดิจิทัลสำหรับประเทศไทยในอนาคต. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 40(157), หน้า 100-139.

นันทพัทธ์ โนนศรีเมือง และสดชื่น อุตอามาตย์. (2565). ผลกระทบของการสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อความตั้งใจซื้อสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคเจนเนอเรชันวาย. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 14(3), 36-49.

รัฐ ใจรักษ์. (2564). ตัวแบบวุฒิภาวะเพื่อการปรับปรุงความสัมพันธ์กับลูกค้าในการจัดการตลาดดิจิทัล. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 14(1), หน้า 1-16.

ศุภกิจ วงศ์วิวัฒนนุกิจ (2555). พจนานุกรมศัพท์การวิจัยและสถิติ (Dictionary of Research and Statistics). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Al-Azzam, A. F., & Al-Mizeed, K. (2021). The effect of digital marketing on purchasing decisions: A case study in Jordan. The Journal of Asian Finance, Economics and Business, 8(5), 455-463.

Bauer, H. H., Falk, T., & Hammerschmidt, M. (2006). eTransQual: A transaction process-based approach for capturing service quality in online shopping. Journal of Business Research, 59(7), 866-875.

DeLone, W. H., & McLean, E. R. (2003). The DeLone and McLean model of information systems success: a ten-year update. Journal of Management Information Systems, 19(4), 9-30.

Deiss, R., & Henneberry, R. (2017). Digital marketing for dummies. John Wiley & Sons.

Gartner Website. (2014). Digital Commerce. [Online]. Available from: https://www.gartner.com/it-glossary/digital-commeerc. [accessed Mar 3, 2018].

Hair, J. F., Anderson, R. E., Babin, B. J., & Black, W. C. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective (Vol. 7): Pearson Upper Saddle River (p. 117).

Jairak, R. (2016). The impact of website quality on customer purchase intention: A Thai consumers' perspective. In Orchorn Maeesong et al. (Eds), Proceedings of the 6th International Conference on Business Management Research, Chiang Mai 2016. (pp. 100-113). Chiang Mai: Uniserv Chaing Mai University.

Jairak, R., & Praneetpolgrang, P. (2011). The Development of a New Capability Maturity Model for Assessing Trust in B2C E-commerce Services. In International Conference on Informatics Engineering and Information Science, Springer, Berlin, Heidelberg (pp. 448-462).

Kotler, P., Kartajaya, H., & Setiawan, I. (2017). Marketing 4.0: Moving from Traditional to Digital. John Wiley & Sons.

Nawaz, S. S., & Kaldeen, M. (2020). Impact of digital marketing on purchase intention. International Journal of Advanced Science and Technology, 29(4), 1113-1120.

Swilley, E. (2016). Mobile commerce: How it contrasts, challenges, and enhances electronic commerce. Business Expert Press.

Sukrat, S., & Papasratorn, B. (2018). A Maturity Model for C2C Social Commerce Business Model. International Journal of Electronic Commerce Studies, 9(1), 27-54.

Triandini, E., Djunaidy, A., & Siahaan, D. (2017). Mapping Requirements into E-commerce Adoption Level: A Case Study Indonesia SMEs. In 2017, the 5th International Conference on Cyber and IT Service Management (CITSM). IEEE (pp. 1-5)

Zahay, D. (2015). Digital marketing management: A handbook for the current (or Future) CEO. Business Expert Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30