อิทธิพลของคุณลักษณะของผู้ประกอบการและความสามารถเชิงนวัตกรรมที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหารในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
คุณลักษณะของผู้ประกอบการ, ความสามารถเชิงนวัตกรรม, ความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหารบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้ประกอบการ ความสามารถเชิงนวัตกรรม และความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหาร 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณลักษณะของผู้ประกอบการ ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหาร 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความสามารถเชิงนวัตกรรม ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหาร ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร จำนวนกลุ่มตัวอย่างจากการคำนวณ 166 กลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยได้สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบสะดวก จำนวน 210 คน และได้คัดกรองเหลือ 200 คน ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการศึกษา พบว่า 1) คุณลักษณะผู้ประกอบการ ความสามารถเชิงนวัตกรรม ความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหารในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) การทดสอบสมมติฐานพบว่า คุณลักษณะผู้ประกอบการ ด้านความเป็นตัวของตนเอง ด้านความกล้าเสี่ยง ด้านการบริหารจัดการ และด้านความใฝ่ใจในความสำเร็จ ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านความมีนวัตกรรม และด้านความมุ่งมั่นในการเรียนรู้ไม่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหาร นอกจากนั้น ความสามารถเชิงนวัตกรรมด้านกระบวนการ ด้านพฤติกรรม และด้านกลยุทธ์ ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหารในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01
References
กนกพร ศรีวิชัย. (2566). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ้านอาหารจังหวัดลำปาง. วารสารลวะศรี, 7(2), 44-53.
กม จารุเศรนี. (2565). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหารขนาดกลางในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 9(2), 158-173.
กุสุมา สีดาเพ็ง. (2565). การพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านกองแหะ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารลวะศรี, 6(2), 20-33.
คณิศร อุ่นเเสงจันทร์. (2564). คุณลักษณะของผู้ประกอบการและกลยุทธ์ที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 7(1), 618-629.
จารุพร ขันธนันท์ และวสุธิดา นุริตมนต์. (2562). คุณลักษณะของผู้ประกอบการและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม: กรณีศึกษาลูกค้าของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคกลางของประเทศไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 33(108), 133-144.
ชัยสิงห์ ทองเกื้อ และทวีป พรหมอยู่. (2563). ปัจจัยด้านนวัตกรรมทางธุรกิจที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจการค้าชายแดนไทยในจังหวัดระนอง. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ, 5(ฉบับเพิ่มเติม), 31-42.
ณัจฐลักษณ์ จันทร์มาลา และเจษฎา วงศ์แสนสุขเจริญ. (2566). ความสามารถทางนวัตกรรมที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรในบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยองกรณีศึกษา บริษัท ABC จำกัด. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 5(3), 23-39.
ทศพล ปรีชาศิลป. (2566). คุณลักษณะของผู้ประกอบการธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทยภายใต้สถานการณ์โควิด-19. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 25(1), 181-194.
ทิพยาภรณ์ ปัตถา, สนธิญา สุวรรณราช, สรัชนุช บุญวุฒิ, กาญจนา คุมา, และสุธีรา ทิพย์วิวัฒน์พจนา. (2566). ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างพหุปัจจัยและความตั้งใจใช้เทคโนโลยีทางบัญชี: หลักฐานเชิงประจักษ์ของนักบัญชีในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารลวะศรี, 7(2), 32-43.
ธนณัฏฐ์ เนียมหอม และสมจิตร ล้วนจําเริญ. (2565). คุณลักษณะของผู้ประกอบการและศักยภาพการจัดการธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อผลการดําเนินงานธุรกิจรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของผู้ประกอบการในประเทศไทย. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 12(3), 628-641.
ธนภร จรูญนิมมาน. (2566). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดบริการเพื่อสร้างการรับรู้คุณค่าสู่ความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหารในจังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 9(2), 21-33.
ปรเมษฐ์ บุญนำศิริกิจ และชวลิตร พันธุ์ชมภู. (2565). อิทธิพลเชิงโครงสร้างของภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการ คุณลักษณะผู้ประกอบการและกลยุทธ์องค์การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ที่มีต่อความอยู่รอดขององค์การธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 48-69.
ปาริฉัตร จิตประสงค์ และกฤตชน วงศ์รัตน์. (2566). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานทางการตลาดโดยผ่านกลยุทธ์การปรับตัวทางการตลาดและความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจแฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่ม. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 6(2), 251-266.
ปาริชาติ ด้วงสงค์ และพรทิพย์ รอดพ้น. (2565). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจสตาร์ทอัพในเขตจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 16(1), 103-117.
ปิ่นฤดี หนูบุตร, ประยงค์ มีใจซื่อ และนรพล จินนันท์เดช. (2565). ผลกระทบของความสามารถเชิงนวัตกรรมและบุพปัจจัยต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 14(3), 193-205.
พงศ์ดิลก จินตมนูญธรรม และสมศักดิ์ เอี่ยมคงสี. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับคุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 20(38), 62-73.
พัชรกันต์ นิมิตรศดิกุล และพงษ์สันติ์ ตันหยง. (2564). องค์ประกอบคุณลักษณะผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จในจังหวัดนครปฐม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 5(2), 49-64.
พัชรินทร์ เพชรช่วย และรัตติยาภรณ์ รอดสีเสน. (2564). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กรณีศึกษาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในจังหวัด สุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ, 8(1), 107-124.
ฟาตอนะห์ หะยีลาเตะ และยุทธชัย ฮารีบีน. (2566). ความสามารถเชิงนวัตกรรมที่มีต่อผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดภูเก็ต. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14 19 พ.ค.66, หน้า 1074-1091.
ภูบดินทร์ อุ่นดำรงค์การ, ธัญปวีณ์ รัตนพงศ์พร, สมบัติ ธำรงสินถาวร และอัมพล ชูสนุก. (2564). ความได้เปรียบในการแข่งขัน และผลการดำเนินงานขององค์การ: มุมมองของทฤษฎีมุมมองฐานทรัพยากร. วารสารลวะศรี, 5(2), 120-133.
ฤดี เสริมชยุต, ลีลา เตี้ยงสูงเนิน และศิริเดช คำสุพ. (2565). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการตลาดสีเขียวและความสามารถเชิงนวัตกรรมที่ส่งผลต่ออการดำเนินงานของกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(3), 241-254.
วุฒิพงค์ ครอบบัวบาน และกัญญามน อินหว่าง. (2562). รูปแบบสมรรถนะและคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีผลต่อความสำาเร็จของธุรกิจเกษตรอินทรีย์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 11(1), 113-126.
ศุภนารี พิรส. (2564). คุณลักษณะของผู้ประกอบการเจนเนอเรชั่นวายที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 15(2), 193-202.
สวลี วงศ์ไชยา และพีชญาดา พื้นผา. (2561). อิทธิพลของกลยุทธ์ธุรกิจและคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความสำาเร็จของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(2), 139-152.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2567). จำนวนผู้ประกอบการรวม. สืบค้น 12 ธันวาคม 2566 จาก https://app.powerbi.com/view?r=eyJrIjoiMzk5MzhiNWItZWM1Yi00NjY1LWE3MzgtYjg0MGZkYzM2Yzc1IiwidCI6ImExZmZjMjhhLTEzZmMtNDhiMC05NGRmLWYyYWIyOGUwNWNhNSIsImMiOjEwfQ==
สุชาดา ทองคำเจริญ และจันทนา แสนสุข. (2565). ศักยภาพการจัดการธุรกิจและคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความสำ2เร็จของธุรกิจไมซ์ (MICE)ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 9(1), 108-127.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G. & Buchner, A. 2009. “G*Power 3: A Flexible Statistical Power Analysis Program for the Social and Behavioral sciences.” Behavior Research Methods 39 (1): 175-191.
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. and Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis. 7th Edition, Pearson, New York.
Kleysen, R. F., & Street, C. T. (2001). Toward a multi‐dimensional measure of individual innovative behavior. Journal of Intellectual Capital, 2(3), 284-296. https://doi.org/10.1108/eum0000000005660
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารลวะศรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ