พฤติกรรมการบริโภคและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เยลลี่จากเปลือกเชอรี่กาแฟ จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการบริโภค, การตัดสินใจซื้อ, เยลลี่จากเปลือกเชอรี่กาแฟบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการบริโภคและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เยลลี่จากเปลือกเชอรี่กาแฟ เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์อาหารจากเปลือกเชอรี่กาแฟ ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการบริโภค และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เยลลี่จากเปลือกเชอรี่กาแฟ เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation Research) โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยบริโภคเยลลี่ ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเชิงอ้างอิง ได้แก่ ไคสแควร์ และการทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มอิสระ
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 26-35 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือน 40,000-50,000 บาท ส่วนใหญ่รับประทานผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำมาจากกาแฟ อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง และรับประทานเยลลี่อาทิตย์ละ 1 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายในการซื้อเยลลี่ ต่อครั้งต่อคนเฉลี่ย 31-40 บาท ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เลือกซื้อจากร้านค้าออนไลน์ และคุณสมบัติของ เยลลี่ที่ต้องการ คือ ลดน้ำตาล ซึ่งส่วนใหญ่มีงานอดิเรก คือ ฟังเพลง ดูซีรีย์ และแสวงหาอาหารสุขภาพ ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 48.25 เลือกรับประทานเยลลี่รสกาแฟเป็นอาหารทานเล่น ส่วนใหญ่ต้องการทดลองสินค้าใหม่ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความนิยมของรสชาติเยลลี่อยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความถี่ในการรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำมาจากกาแฟ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านการส่งเสริมการตลาดมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจรับประทานผลิตภัณฑ์เยลลี่จากเปลือกเชอรี่กาแฟ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
ฉันทพัทธ์ ปัญจมานนท์. (2566). ขนมเยลลี่เจลาติน (Gummy Jelly) มาแรง. สืบค้น พฤษภาคม 10, 2567, https://www.ditp.go.th/post/82095
นริสา สุดปัญญา, ปรเมศร์ อัศวเรืองพิภพ, และโอปอล์ สุวรรณเมฆ. (2561, มกราคม-มิถุนายน). พฤติกรรมการซื้อขนมกัมมี่เยลลี่ ใน เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารและจัดการ. 8(1), 101-114.
นุกุล อินทกูล, ธัญญา มูลตัน, ปัญญาพร ศิริแสน, และชิษณุพงค์ บรรจง. (2566, มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนาผลิตภัณฑ์แครกเกอร์ ข้าวหอมมะลิเสริมผงเปลือกกาแฟ. วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี, 2(1), 61-68.
พิพม์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์ (ม.ป.ป.). Jelly/เยลลี่. ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหาร. https://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0882/jelly-เยลลี่
ผกาวดี ภู่จันทร์. (2564, มกราคม-มิถุนายน). ผลของการเสริมผงเปลือกหุ้มเมล็ดกาแฟต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์เค้ก. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 16(1), 75-85.
ภูมิพัฒน์ เชื้อสะอาด. (2020). การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวาย และการออกแบบผลิตภัณฑ์กาแฟดำพร้อมดื่มสกัดเย็น โดยใช้เทคโนโลยีการแปรรูปความดันสูง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุกัญญา ศิริรักษ์. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกบริโภคกาแฟคุณภาพพิเศษ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุชาติ ไตรภพสกุล. (2565). หลักการตลาดเพื่อการเป็นผู้ประกอบการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2566). สารสนเทศเศรษฐกิจเกษตรรายสินค้า. สืบค้น เมษายน 20, 2566, จาก https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/jounal/2567/commodity2566.pdf
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York : John Wiley & Sons.
Hirano, R., Sasamoto, W., Matsumoto, A., Itakura, H., Igarashi, O., & Kondo, K. (2001, April). Antioxidant ability of various flavonoids against DPPH radicals and LDL oxidation. Journal of nutritional science and vitaminology, 47(5), 357-362.
Kao, Y. H., Chang, H. H., Lee, M. J., & Chen, C. L. (2006, February). Tea, obesity, and diabetes. Molecular nutrition & food research, 50(2), 188-210..
Nguyen, T. M. T., Cho, E. J., Song, Y., Oh, C. H., Funada, R., & Bae, H. J. (2019, November). Use of coffee flower as a novel resource for the production of bioactive compounds, melanoidins, and bio-sugars. Food chemistry, 299, 1-8.
Rains, T. M., Agarwal, S., & Maki, K. C. (2011, January). Antiobesity effects of green tea catechins: a mechanistic review. The Journal of nutritional biochemistry, 22(1), 1-7.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารลวะศรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ