ปัญหาในการควบคุมพฤติกรรมการแข่งขันของธุรกิจดิจิทัลที่ไม่เป็นธรรมภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าของไทยในยุคของ Big Data

Main Article Content

รุ่งนภา อดิศามงคล
เศรษฐบุตร อิทธิธรรมวินิจ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะของพฤติกรรมการกีดกันการแข่งขันในตลาดดิจิทัล และมาตรการในการควบคุมของกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของไทย ศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายสหภาพยุโรปและประเทศเยอรมนี โดยพบว่า ลักษณะการกระทำที่เป็นการกีดกันการแข่งขันของธุรกิจดิจิทัลมีลักษณะแตกต่างจากการกีดกันการแข่งขันของธุรกิจปกติทั่วไป ธุรกิจทั่วไปล้วนกระทำโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการกำไรส่วนเกิน แต่สำหรับธุรกิจดิจิทัล เป็นการให้บริการผ่านแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันต่างๆ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายจากผู้ใช้ แต่มีการจัดเก็บข้อมูลจนกลายเป็น Big data และจะมีการใช้มูลค่าที่อยู่ในข้อมูลเหล่านี้เพื่อสร้างรายได้จากการโฆษณา การกระทำเพื่อกีดกันการแข่งขันจึงเปลี่ยนเป็นกระทำการเพื่อมุ่งให้องค์กรธุรกิจได้มาซึ่งข้อมูลจำนวนมาก แต่ พ.ร.บ การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ไม่มีบทบัญญัติที่ครอบคลุมเพื่อควบคุมการกีดกันการแข่งขันที่มีสาเหตุมาจาก Big data ในขณะที่กฎหมายสหภาพยุโรปและกฎหมายเยอรมันมีบทบัญญัติเพื่อปรับใช้อย่างครอบคลุม งานวิจัยนี้จึงมีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุง พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้าฯ โดย (1) ปรับหลักเกณฑ์พิจารณาการเป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด และ (2) เพิ่มเติมบทบัญญัติที่เป็นมาตรการควบคุมพฤติกรรมของผู้ประกอบธุรกิจในตลาดดิจิทัลตามแนวทางของประเทศเยอรมนี

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

Accardo, Grabriele. “Big data: Italian Authorities Launch Inquiries on Competition, Consumer Protection and Data Privacy Issues.” Last modified March 1, 2018. Accessed May 20, 2020. www.ashurst.com/en/news-and-insights/legal-updates/big-data-italian-authorities-launch-inquiries-on-competition/.

Deunden Nikomborirak, and Prasopsuk Sungboonmak. Trade and Competition. Bangkok: Thammasart University Press, 2550. [in Thai]

European Commission. “Fact sheet- Antitrust: Commission Opens Formal Investigation Against Google in Relation to Android Mobile Operating System.” Last modified April 15, 2015. Accessed May 20, 2020. https://ec.europa/ commission/presscorner/detail/MEMO _15_4782.

European Commission. “Fact Sheet: Commission Sends Statement of Objections to Google on Comparison Shopping Service.” Last modified April 15, 2015. Accessed May 15 2020. http://Europa.eu/rapid/press-release_MEMO-15-4781.en.htm.

European Commission. “Press Release- Antitrust: Commission Opens Investigation into Possible Anti-Competitive Conduct of Amazon.” Last modified July 17, 2019. Accessed January 29, 2020. http://ec.europa.eu/commission/presscorner/ detail/en/ip_19_4291.

European Competition Network. “Bundeskartellamt Initiates Proceeding Against Facebook on Suspicion of Having Abused its Market Power by Infringing Data Protection Rules.” Last modified 2015. Accessed January 29, 2020. https://webgate.ec.europa.eu/multisite/ecn-brief.

Kanokdanai Thavornpanich. “Ordoliberalism and the Influence to the European Competition Law”. Accessed January 20, 2020. https://www.academia.edu/34220005/แนวคิดเสรีนิยมแบบออร_โด_Ordoliberalism_กับอิทธิพลต่อกฎหมายการแข่งขันทางการค_าของสหภาพยุโรป. [in Thai]

Ringel, Daniel M., and Skiera Bernd. ”Visualizing Asymmetric Competition Among More Than 1,000 Products Using Big Search Data.” Market Science 35, no. 3 (2016): 511-534.

Rubinfeld, Daniel L., and Gal, Michal S. “Access Barriers to Big Data.” Arizona Law Review 59 (2017): 339-381.

Sorawit Limparungsri. Competition on Trade Law: Basic Concept, Purpose, and Problems. Bangkok: Nititham Publishing, 2543. [in Thai]

Stucke, Maurice E., and Grunes, Allen P. Big Data and Competition Policy. Oxford: OUP, 2016.

Suthee Supanit. Principle and Doctrine of Competition on Trade Act B.E. 2542. Bangkok: Thammasart University Press, 2555. [in Thai]