มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ

Main Article Content

วิชัย โถสุวรรณจินดา

บทคัดย่อ

แรงงานนอกระบบเป็นแรงงานที่มีความสำคัญในระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา เพราะมีกลไกทำให้เกิดการจ้างงานจำนวนมาก แต่แรงงานนอกระบบส่วนใหญ่จะได้ค่าจ้างต่ำ และไม่มีความมั่นคงหรือหลักประกันในการทำงาน ทำให้แรงงานดังกล่าวอยู่ในสภาพที่ยากจน รัฐจึงจำเป็นต้องเข้ามาคุ้มครองแรงงานนอกระบบ ด้วยการใช้มาตรการทางกฎหมายในรูปแบบต่าง ๆ


            การศึกษานี้ ได้มีการรวบรวมการออกกฎหมาย เพื่อคุ้มครองแรงงานนอกระบบที่ผ่านมา และงานวิจัยเกี่ยวกับแรงงานนอกระบบในช่วงปี 2546-2559 พบว่า รัฐได้ออกกฎหมายคุ้มครองแรงงานนอกระบบแล้ว ใน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรงงานรับจ้างในงานเกษตรกรรม กลุ่มลูกจ้างทำงานบ้าน และกลุ่มแรงงานที่รับงานไปทำที่บ้าน แต่ก็ยังไม่เป็นการเพียงพอ เพราะยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาแรงงานนอกระบบได้อย่างจริงจัง และยังมีแรงงานนอกระบบอีกหลายกลุ่มที่ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครอง ได้แก่ กลุ่มแรงงานในสถานบริการ กลุ่มแรงงานที่ทำงานบางช่วงเวลา และกลุ่มอาชีพอิสระ ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีปัญหาและความต้องการในการคุ้มครองตามกฎหมายที่แตกต่างกัน


            งานวิจัยนี้ได้เสนอแนะว่า การออกมาตรการทางกฎหมายคุ้มครองแรงงานนอกระบบ ต้องเน้นที่ปัญหาความไม่มั่นคงในการจ้างงาน การขาดความมั่นคงของรายได้    การขาดโอกาสในการพัฒนาอาชีพ การขาดความปลอดภัย การขาดโอกาสได้รับการฝึกอบรมเพื่อได้ความรู้ใหม่ และการขาดโอกาสจัดตั้งองค์การที่ได้รับการรับรองตามกฎหมายของแรงงานนอกระบบ รัฐบาลจึงต้องเข้ามาให้การคุ้มครองแรงงานนอกระบบโดยการออกกฎหมายคุ้มครองแรงงานให้สอดคล้องกับปัญหาของแรงงานนอกระบบ รวมทั้งการให้โอกาสแรงงานนอกระบบได้เข้าสู่การคุ้มครองของระบบประกันสังคมโดยได้สิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับแรงงานในระบบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุศล สุนทรธาดา. (2550). ความหลากหลาย สุขภาวะ และหลักประกันของแรงงานนอกระบบ ใน กทม. ใน วรชัย ทองไท และ สุรีย์พร พันพึ่ง (บก.), ประชากรและสังคม 2550. นครปฐม: ประชากรและสังคม.
นนทกานต์ จันทร์อ่อน, (2556, กุมภาพันธ์), การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบของประเทศไทย, ห้องสมุดอิเลคทรอนิกส์วุฒิสภา สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา [Online]. เข้าถึงได้จาก http://library. senate.go.th/document/Ext536 0/5360123_0002.PDF สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2561.
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
ระกาวิน ลีชนะวานิชพันธ์. (2540). ทัศนคติของผู้รับงานไปทำที่บ้านต่อร่างนโยบายส่งเสริมและคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน : กรณีศึกษาผู้รับงานไปทำที่บ้านในกิจการตัดเย็บเสื้อผ้าในเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิชัย โถสุวรรณจินดา. (2545). แรงงานสัมพันธ์ : กุญแจแห่งความร่วมมือระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยร่วมกับกระทรวงแรงงาน. (2554). แผนยุทธศาสตร์ การบริหารการจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2555 - 2559 (รายงานการวิจัย) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
สำนักงานประกันสังคม. (2558). รายงานประจำปี 2557. [Online] เข้าถึงได้จาก. http s://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/d67753f3ea8d978005d68e7b371b5363.pdf สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2561
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2559). การสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2559 [Online]. เข้าถึงได้จาก http://service.ns o .go.th/nso/nsopublish/themess/files/workerOutReports59.pdf สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2561.
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ. (2546). งานที่มีคุณค่าและเศรษฐกิจนอกระบบ, กรุงเทพฯ: สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ.