มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมเนื่องจากคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการ

ผู้แต่ง

  • ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการ กองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • สุรวุฒิ รังไสย์ ผู้อำนวยการกองคดีคุ้มครองบริโภค กรมสอบสวนคดีพิเศษ

คำสำคัญ:

มาตรการทางกฎหมาย, คุ้มครองสิทธิ, ผู้เสียหาย หรือเหยื่ออาชญากรรม, คำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญา, พนักงานอัยการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาคดีอาญาที่รัฐเป็นโจทก์ กรณีพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ไม่สามารถคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมได้อย่างเหมาะสมเพราะมีความล่าช้า ไม่มีประสิทธิภาพ และกฎหมายไม่บัญญัติให้ชัดเจนที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมสามารถขอให้องค์กรอัยการทบทวนคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องได้อย่างเหมาะสม ประกอบกับการหาพยานหลักฐานใหม่อันสำคัญไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง

ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 พระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรม เนื่องจากคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการ      มีเนื้อหาไม่ครอบคลุม ครบถ้วน ทำให้การคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมให้มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและในหลายประเทศ

ผู้วิจัยเห็นว่า ควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าว และประเทศไทยจะต้องมีมาตรการทางกฎหมายในรูปแบบ “คณะกรรมการการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมอันเนื่องจากรัฐยุติการดำเนินคดีอาญาผู้ต้องหา” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับปรุงระบบการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรม เนื่องจากคำสั่ง   ไม่ฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการให้มีความเหมาะสม เพื่อจะช่วยยกระดับในการพัฒนาระบบการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมในประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพและเทียบเท่ามาตรฐานสากล

References

กฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการวินิจฉัยทบทวนเกี่ยวกับการดำเนินคดี (Prosecution Committee Act หรือ Prosecution Review Board Act)
คณิต ณ นคร. (2552). ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญา สะท้อนทิศทางพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
คำวินิจฉัยคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร สาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมาย ที่ สค71/2559
ประมวลกฎหมายพิจารณาความอาญาของสาธารณรัฐโครเอเชีย (The Croatian Code on Criminal Procedure หรือ Zakonokaznenompostupku: ZKP)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (Code de procedure penale: CPP)
ประมวลกฎหมายสหรัฐอเมริกา 18 (U.S. Code)
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
พระราชบัญญัติความรุนแรงในครอบครัว อาชญากรรมและผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรม ค.ศ.2004 (Domestic Violence, Crime and Victims Act 2004) ของ สหราชอาณาจักร
พระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พุทธศักราช 2546
มานะ เผาะช่วย. (2556). ระบบการดำเนินคดีในชั้นเจ้าพนักงาน : ศึกษาเปรียบเทียบระบบประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
สุรวุฒิ รังไสย์. (2560). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมเนื่องจากคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาปทุมธานี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/25/2018