พฤติกรรมหลังผ่านการบำบัดรักษาของผู้เสพยาเสพติด: กรณีศึกษาเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ไพโรจน์ บุญประเสริฐ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงกลุ่มผู้เสพยาเสพติด สาเหตุ  ของการติดยาเสพติด สาเหตุการกลับมาเสพยาเสพติดหลังการบำบัดรักษา และหลังการพ้นโทษ รวมทั้งศึกษาพฤติกรรมหลังผ่านการบำบัดรักษาของผู้เสพยาเสพติด              โดยทำการศึกษากลุ่มบุคคลที่เคยเสพยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์


ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้เสพยาเสพติดส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย อายุระหว่าง     20 - 29 ปี เป็นโสด และมีรายได้น้อย ยาเสพติดที่เสพมากที่สุด คือ แอมเฟตามีน        จะเสพด้วยการกินมากกว่า 4 ครั้ง ต่อวัน ค่าใช้จ่ายในการเสพ 300 - 500 บาท ต่อครั้ง เงินที่นำมาซื้อยาเสพติดบางคนได้มาจากการทำงาน กู้ยืม หรือลักขโมย สาเหตุของการติดยาเสพติด และการกลับมาเสพยาเสพติด หลังผ่านการบำบัดรักษาและการพ้นโทษ เนื่องจากในชุมชนยังมียาเสพติดจำหน่ายอยู่ ส่วนพฤติกรรมหลังผ่านการบำบัดรักษา       ผู้เสพยาส่วนใหญ่ ยังเสพอยู่ หากหยุดเสพ จะไม่สบาย ใจสั่น คลื่นไส้ ปวดศีรษะ


ดังนั้น หน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ควรใช้เวลาในการบำบัดรักษาเพิ่มขึ้น อย่างน้อย 6 เดือน และติดตามผลหลังมีการบำบัดรักษานาน 1 ปี หรือจนกระทั่งหายขาด เพื่อป้องกันการกลับมาเสพซ้ำ รวมทั้งสังคมและคนรอบข้าง ควรเข้าใจ ให้โอกาสและกำลังใจ เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางด้านจิตใจ ให้ผู้เสพยาเสพติด เลิกเสพได้อย่างถาวร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสรรพากร. การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394 – พ.ศ. 2411). [Online]. เข้าถึงได้จาก https://www.rd.go.th/publish/3457.0.html สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2560
ฐิติวุฒิ บุญยวงศ์วิวัชร. (2558, มกราคม – เมษายน). มายาคติของหอฝิ่น: การสร้างความหมายของฝิ่นภายใต้บริบทแห่งการสร้างชาติและท่องเที่ยว. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง. 12 (1)
นิบัสรี นิโว๊ะ. ม.ป.ป.. ยาเสพติดที่แพร่ระบาดในประเทศไทย. [Online]. เข้าถึงได้จากhttps://www.gg.gg/awzms. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2559.
บ้านพึ่งสุข. ศูนย์ฟื้นฟูและพัฒนาจิตใจผู้ติดยาเสพติด. ม.ป.ป. การบำบัดและรักษาผู้ติดยาเสพติดในประเทศไทย. [Online]. เข้าถึงได้จาก https://www.gg.gg/arqv7 สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2559.
พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545.
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
มานพ คณะโต. และ คณะ. (2560). โครงการจัดทำข้อมูลสถานการณ์ปัญหายาเสพติดของกลุ่มแรงงาน, (รายงานการศึกษา), กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
มูลนิธิเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, การปราบฝิ่นในรัชกาลที่ 3 [Online]. เข้าถึงได้จากhttps://www.kingrama3.or.th/index.php?lay= show&ac=article&Id=540025339 สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2560.
ยาหอม, นามแฝง. (2551,กันยายน). หนังสือคู่สร้าง คู่สม. 29 (615)
ระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ว่าด้วยการตรวจพิสูจน์การฟื้นฟู สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดการควบคุมตัว และการปฏิบัติต่อผู้เข้ารับการตรวจ พิสูจน์ และผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2546
รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร. (2554, มกราคม). การแก้ปัญหายาเสพติด, มติชน.
โรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา. (2547). ระบบการบำบัดรักษายาเสพติดในประเทศไทย[Online]. เข้าถึงได้จาก https://www.sdtc.go.th/paper/14. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2559.
ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดเชียงราย. ม.ป.ป. ใน รายงานการประชุม. 20 สิงหาคม 2557, ม.ป.พ.
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด. [Online]. เข้าถึงได้จากhttps://kanchnapiek.orth/kp6/sub/book/book.php?book=9&chap=13&page=t9-13-infodetail05.html. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2560.
สุนทร บุญเชียง. ม.ป.ป. การป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้โทษ (ยาบ้า) ศึกษาเฉพาะจังหวัดเชียงราย (รายงานการวิจัย). ม.ป.พ.
อารี สุภาวงศ์. (2559). ประสิทธิผลของการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดตามรูปแบบจิตสังคมบำบัดแบบประยุกต์ โรงพยาบาลทุ่งสง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 36 (พิเศษ).

บุคลานุกรม
สัมภาษณ์ ชาย. นามสมมติ. 3 สิงหาคม 2559.
สัมภาษณ์ ชิด. นามสมมติ. 7 ตุลาคม 2559.
สัมภาษณ์ เด็ด. นามสมมติ. 24 สิงหาคม 2559.
สัมภาษณ์ นิด. นามสมมติ. 31 สิงหาคม 2559.
สัมภาษณ์ พงศ์. นามสมมติ. 9 กันยายน 2559.
สัมภาษณ์ ฤทธิ์. นามสมมติ. 21 ตุลาคม 2559.
สัมภาษณ์ สม. นามสมมติ. 28 ตุลาคม 2559.
สัมภาษณ์ สวย. นามสมมติ. 10 สิงหาคม 2559.
สัมภาษณ์ สาม. นามสมมติ. 23 กันยายน 2559.
สัมภาษณ์ หนึ่ง. นามสมมติ. 16 กันยายน 2559.
สัมภาษณ์ หล้า. นามสมมติ. 17 สิงหาคม 2559.