การบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 กรณีศึกษา อำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • วิชาญ เครือรัตน์ อาจารย์ (สบ 3) กลุ่มอาจารย์ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 8 สุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การบังคับใช้กฎหมาย, การคุ้มครองเด็ก, พนักงานสอบสวน

บทคัดย่อ

                       บทความวิจัยนี้เป็นแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง ปัญหาข้อกฎหมายในการคุ้มครองเด็กและปัญหาคดีที่เกี่ยวกับเด็กซึ่งกระทบถึงปัจจัยในการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี

การศึกษาครั้งนี้ พบปัญหาจากคำนิยาม คำว่า “เด็ก” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ได้มุ่งคุ้มครองเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี แต่ไม่คุ้มครองเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส จากข้อเท็จจริง ถึงแม้ว่าเด็กจะสมรสแล้วก็ตาม แต่อายุยังน้อย ด้อยวุฒิภาวะ ซึ่งไม่แตกต่างจากเด็กทั่วไปที่ยังไม่ได้สมรส ครั้นเด็กที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสแล้ว ถูกกระทำจากบุคคลอื่นจนได้รับความเสียหาย พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวไม่ได้คุ้มครองอย่างเช่นเด็กทั่วไป สิทธิที่ควรได้รับตามกฎหมายจึงไม่เท่าเทียมกัน ปัญหาต่อมา ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์เชิงลึกและใช้แบบสอบถามพนักงานสอบสวนในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า พนักงานสอบสวนเกี่ยวกับจิตวิทยาเด็กมีอัตรากำลังไม่เพียงพอ ปัญหาความพร้อมของสถานที่ที่เป็นห้องสอบปากคำ และอุปกรณ์ในการสอบสวนเด็กมีไม่ครบถ้วน ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการติดต่อประสานงานในเรื่องดังกล่าว ตกเป็นภาระของพนักงานสอบสวน

                     ปัญหาเหล่านี้ จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ให้คุ้มครองตลอดถึงเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส เพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม และรัฐควรเพิ่มอัตราตำแหน่งพนักงานสอบสวน ตลอดถึงงบประมาณในด้านต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว ให้เหมาะสมเพียงพอ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป

References

กฎหมายลักษณะอาญา.

กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก[Online]. เข้าถึงได้จาก http://humanrights.mfa.go.th/th/kids/
72/. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2560.

กิเลน ประลองเชิง. (2553, มกราคม 22). กฎหมายขายเมีย. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ,[Online]. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath. co.th/content/
60173. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2560.

ประชุม โฉมฉาย. (2546). วิวัฒนาการของกฎหมายโรมัน. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.
. (2555). หลักกฎหมายโบราณเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประเทือง ธนิยผล. (2548). กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน และวิธีพิจารณาคดีครอบครัว LW 437(S). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. หน้า 16.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.

ประมวลกฎหมายอาญา.

พรพิมล พลายน้อย. (2548). ปัญหาและอุปสรรคของพนักงานสอบสวนกองบัญชา
การตำรวจนครบาล ต่อการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระยานิติศาสตร์ไพศาล. (2497). คำสอนชั้นปริญญาโท พุทธศักราช 2494. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546.

พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553.

ภูภณัช รัตนชัย. (2554). ความรับผิดทางละเมิดของเยาวชนในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา, สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิชาญ เครือรัตน์. (2560). ปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ของพนักงานสอบสวนในสังกัดตำรวจภูธร จังหวัดสุราษฎร์ธานี (รายงานการวิจัย), สุราษฎร์ธานี: ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 8

ศูนย์ข้อมูลกฎหมายกลาง สำนักคณะกรรมการกฤษฎีกา. ๒๐๐ ปี กฎหมายตราสามดวง [Online]. เข้าถึงได้จาก http://www.thailaws.com/download/
Thai download /200year_3duanglaw.pdf. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2560.

ศูนย์เทคโนโลยี สารสนเทศ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. จำนวนคดีเด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดี-จำแนกตามกลุ่มอายุ. [Online], เข้าถึงได้จาก http://www.djop.go.th /stat/statbetween2008-2011/item/ 308- . สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11/15/2018