ปัญหาการดำเนินคดีอาญานายจ้างตามมาตรา 124/1 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

Main Article Content

นพดล ทัดระเบียบ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง ปัญหาการดำเนินคดีอาญานายจ้างตามมาตรา 124/1 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กรณีนายจ้าง    ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามสิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หรือนายจ้างไม่ยอมจ่ายค่าจ้าง       ค่าล่วงเวลา ให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น ถือได้ว่าลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรม ปัจจุบันกฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่งได้ 2 ทาง โดยลูกจ้างจะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน หรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานก็ได้ แต่ไม่อาจจะใช้สิทธิพร้อมกันได้ทั้งสองทาง เมื่อลูกจ้างใช้สิทธิเรียกร้องแล้ว ต่อมา นายจ้างได้ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานหรือได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแรงงาน ให้ถือว่าคดีอาญาเป็นอันระงับไป


ปัญหาดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อสิทธิลูกจ้าง กรณีที่นายจ้างประวิง        การจ่ายเงินอย่างใดอย่างหนึ่งให้ลูกจ้างตามสิทธิที่ควรจะได้รับ ทำให้ลูกจ้างไม่ได้รับเงินตรงตามระยะเวลา เกิดความเสียหายต่อการดำรงชีพ และกระทบต่ออนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศซึ่งไม่ได้ปฏิบัติตามพันธกรณีที่ให้สัตยาบันไว้


ผู้เสนอบทความเห็นว่า ควรยกเลิกมาตรา 124/1 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เพราะมีเนื้อหาที่เป็นเหตุให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้โทษทางอาญาต่อนายจ้าง กระทบต่อสิทธิลูกจ้างและเศรษฐกิจโดยรวม นำมาซึ่งปัญหาด้านนโยบายแรงงานระหว่างประเทศ และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ตลอดถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กฎหมายแรงงานฝรั่งเศส. (2560). [Online]. เข้าถึงได้จาก http://satreethai.eu
.free.fr/thai/darawan/le%20droit%20du%20travail%20bilInge_ Daraan.df. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2560.

กระทรวงแรงงานและกิจการสังคมสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี. (2560). [Online].
เข้าถึงได้จาก http://www.thaiembassy.de/en/component/con
tent/article/40announcements/224-alias. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2560.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5874/2544. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน.

ประกาศกระทรวงมหาดไทย. เรื่องการคุมครองแรงงาน. 16 เมษายน 2515.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา.

ปรีดี เกษมทรัพย์. (2526). นิติปรัชญาภาคสอง: บทนำทางประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: มิตรนราการพิมพ์.

ปิยธิดา เจิมหรรษา. (2540). บทบาทและการใช้ดุลพินิจสั่งไม่ฟ้องคดีของอัยการเยอรมัน. ในเอกสารวิชาการเรื่องการตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ. กรุงเทพฯ: สถาบันกฎหมายอาญา.
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541.

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522

ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทํางาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559.

ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 10 ก. (24 มกราคม 2560).

ร. แลงกาต. (2526). ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วินัย ลู่วิโรจน์. (2551). การศึกษาเปรียบเทียบประวัติแนวความคิดเรื่องสัญญาจ้างแรงงาน. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน.

สหราชอาณาจักรกฎหมายแรงงาน. (2560). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จากhttp://en.wikipedia.org/wiki/United kingdom Labour law. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2560.

สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงาน. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. 2550. ตัวบทอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศซึ่งประเทศไทยได้ให้สัตยาบันแล้ว. กรุงเทพฯ: บริษัท รำไทยเพรส จำกัด.
สำนักงานอัยการสูงสุด.การก่อกำเนิดสถาบันอัยการไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์ (1997) จำกัด.

อุดม รัฐอมฤต. (2535 มิถุนายน). การฟ้องคดีอาญา. นิติศาสตร์. ปีที่ 22 (ฉบับที่ 2). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อนุสัญญาฉบับที่ 138 ว่าด้วยอายุขั้นต่ำที่อนุญาตให้จ้างงานได้ พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973)

อนุสัญญาฉบับที่ 182 ว่าด้วยรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999)