รูปแบบการค้าประเวณีในพื้นที่อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ณัฐดนัย พยัฆพันธ์ อาจารย์ประจำ สาขาการเมืองการปกครอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • พิสิฐ นิลเอก อาจารย์ประจำ สาขาการเมืองการปกครอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การค้าประเวณี, อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี

บทคัดย่อ

 บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการค้าประเวณีที่ปรากฎในพื้นที่อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ถึงรูปแบบการค้าประเวณีทั้งทางตรงและแอบแฝงในสถานบริการประเภทต่าง ๆ และศึกษาถึงเงื่อนไขในการติดต่อ ซื้อ - ขาย การค้าประเวณีระหว่างผู้ซื้อกับหญิงขายบริการทางเพศ

        จากการศึกษาพบว่า มีรูปแบบการค้าประเวณี 2 รูปแบบ คือ 1. การค้าประเวณีโดยตรง 2. การค้าประเวณีแอบแฝง แบ่งออกเป็น 5 แหล่ง ได้แก่ 1) ซ่องเปิด พบว่ามีการให้บริการในสถานที่ที่เป็นบ้านหรือโรงแรมที่หญิงขายบริการเช่าไว้         2) ร้านนวดแผนไทย เปิดเป็นร้านนวดแผนไทยแต่มีการขายบริการทางเพศแฝง      อยู่ภายในร้าน 3) ร้านคาราโอเกะ แฝงการขายบริการทางเพศโดยใช้ร้านคาราโอเกะบังหน้า 4) ไซด์ไลน์ (Side line) หญิงขายบริการที่ใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ (Line) เป็นเครื่องมือ    ในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า และ 5) ร้านอาหาร/สวนอาหาร หญิงขายบริการจะอยู่ในบทบาทของพนักงานร้านอาหารนั้น ๆ มักพบในบทบาทของพนักงานต้อนรับและดูแลลูกค้าหรือพนักงานบริการอาหาร (เสิร์ฟ)

        แม้ว่าในปัจจุบัน การค้าประเวณีจะเป็นอาชีพที่ไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐและสังคม แต่อาชีพนี้ก็แฝงรากลึกอยู่ในประวัติศาสตร์ไทยมานาน แนวคิดกำจัด      การค้าประเวณีให้หมดไปจากสังคมโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือจึงยาก                ที่จะสัมฤทธิผล ผู้เขียนจึงเสนอให้อาชีพการค้าประเวณีเป็นอาชีพที่ถูกรับรองโดยรัฐ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแล สวัสดิภาพของหญิงผู้ให้บริการและผู้ซื้อบริการ และควรเพิ่มมาตรการตรวจสอบและควบคุมอย่างเข้มข้น เพื่อมิให้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปีบริบูรณ์เข้ามาอยู่ในวงจรการค้าประเวณี

References

กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ และคณะ. (2558). การค้าประเวณีหญิงจากประเทศในแถบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในประเทศไทย, สมาคมรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2547.

มาตาลักษณ์ ออรุ่งโรจน์. (2549). รายงานการวิจัยการศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมครอบครัวของผู้ตกเป็นเหยื่อและกลุ่มเสี่ยงที่มีผลให้เกิดการค้ามนุษย์โดยเฉพาะกรณีการค้าหญิงและเด็ก. กรุงเทพมหานคร: บริษัท มิสเตอร์ก็อปปี้ (ประเทศไทย).

ยศ สันตสมบัติ. (2535). แม่หญิงสิขายตัวชุมชนและการค้าประเวณีในสังคมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2537). ร่วมแรงแบ่งปัน : สภาพและข้อเท็จจริงแห่งโสเภณีและเอดส์. (เอกสารวิชาการสถาบันฯ หมายเลข 178). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัย มหิดล.

สุชาดา ทวีสิทธิ์. (2556). สถานะของประเทศไทยเกี่ยวกับปัญหาการค้ามนุษย์, จดหมายข่าวประชากรและการพัฒนา, ปีที่ 33 ฉบับที่ 3 เดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2556.

บุคลานุกรม
สัมภาษณ์ น้ำหวาน, 22 สิงหาคม 2560

สัมภาษณ์ แนน, 24 ตุลาคม 2560

สัมภาษณ์ พี่ไข่, 20 ธันวาคม 2560

สัมภาษณ์ มุก, 24 สิงหาคม 2560

สัมภาษณ์ วิว, 22 พฤษภาคม 2560

สัมภาษณ์ อ้อย, 22 สิงหาคม 2560

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11/15/2018