เทคนิคการเขียนตอบข้อสอบวิชากฎหมาย “เขียนตอบอย่างไรให้ได้คะแนน”

ผู้แต่ง

  • เกียรติยศ ศักดิ์แสง อัยการผู้ช่วย สำนักงานอัยการสูงสุด

คำสำคัญ:

เทคนิคการเขียนตอบข้อสอบวิชากฎหมาย, การหาประเด็นปัญหาคำถามกฎหมาย, รูปแบบหรือลีลาการเขียนตอบ, ธงคำตอบ

บทคัดย่อ

การทดสอบวิชากฎหมายในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท เนติบัณฑิตยสภา ตลอดจนผู้เข้าสอบคัดเลือกบรรจุเป็นข้าราชการอัยการตำแหน่งอัยการผู้ช่วย หรือข้าราชการตุลาการตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาข้อสอบวิชากฎหมายจะยากขึ้นเป็นลำดับ

ปัญหาใหญ่ของผู้สอบในการเขียนตอบข้อสอบวิชากฎหมาย มักมีปัญหา “ตอบถูกธงคำตอบ” แต่ไม่ได้คะแนนและเมื่อข้อสอบผูกข้อเท็จจริงขมวดปมปัญหาหลายประเด็น โดยมีเวลาให้อ่านคิดและเขียนตอบน้อย ทำให้เกิดปัญหาหลายประการ เช่น อ่านคำถามแล้ว จับประเด็นไม่ได้ คิดตอบในสิ่งที่เขาไม่ถามทำให้สิ้นเปลืองสมองและเสียเวลา เกิดความลังเลไม่มั่นใจในธงคำตอบเอาแน่นอนไม่ได้ ลนลานจนขาด การจัดระบบความคิดและขาดการวางแผนการเขียนตอบทำให้เขียนตอบ              ไม่ปะติดปะต่อวกวนไปมา หาจุดเริ่มต้นเขียนตอบไม่ได้ แต่งตัวบทขึ้นเอง ปรับบทโดยลอกคำถามมาตอบ นำข้อเท็จจริงนอกคำถามมาเขียนตอบ หลักกฎหมายไม่มีเหตุผลทางกฎหมายไม่ได้ เป็นต้น 

จากการศึกษาพบว่าการเขียนตอบข้อสอบวิชากฎหมายเป็นการนำเสนอคำตอบเชิงอภิปรายให้เหตุผลอันอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายหรือมีกฎหมายเป็นหลักฐานสำคัญ จึงแนะนำให้ผู้สอบหาข้อบกพร่องของตัวเองให้ได้ประยุกต์ใช้วิธี     การเขียนตอบในรูป “แบบผสมผสาน” ระหว่างการตอบแบบตามขั้นตอนกับการตอบแบบฟันธง กล่าวคือ เขียนตอบแบบตามขั้นตอนชูประเด็นหลักและประเด็นรอง เพราะปกติจะเป็นปัญหาสำคัญและมีคะแนนสูงกว่าประเด็นอื่นสำหรับประเด็นปลีกย่อยใช้วิธีตอบแบบฟันธง โดยวินิจฉัยปรับบทแทรกไปในการเขียนตอบประเด็นหลักและให้เก็บให้ครบถ้วน อย่างมีเหตุผลเชื่อมโยงสอดคล้องซึ่งกันและกัน

References

กำชัย จงจักรพันธ์. (2542). คู่มือกฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุพิศ ประณีตพลกรัง. (2552). ทำอย่างไรถ้าอยากเป็นผู้พิพากษา. กรุงเทพฯ: อฑตยา มิเล็นเนียม.

หยุด แสงอุทัย. (2544). กฎหมายอาญาภาค 1. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการสมัคร การสอบคัดเลือก และทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. 2558.
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีสมัคร หลักสูตร และวิธีการสอบคัดเลือก และทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11/15/2018