พระภิกษุยักยอกทรัพย์ : ศึกษาความรับผิดทางอาญาและอาบัติตามพระวินัย

ผู้แต่ง

  • ฉัตตมาศ วิเศษสินธุ์ อาจารย์ประจำสาขานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • สุชาดา ศรีใหม่ อาจารย์ประจำสาขานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

พระภิกษุ, ยักยอกทรัพย์, รับผิดทางอาญา, อาบัติ, พระวินัย

บทคัดย่อ

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สังคมไทยส่วนใหญ่นับถือ และสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน การอุปสมบทเป็นพระภิกษุถือได้ว่าเป็นการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาที่สำคัญยิ่ง ด้วยการยอมรับนับถือเอาศีลจำนวน 227 ข้อ มาเป็นข้อวัตรปฏิบัติ เพื่อให้เป็นไปตามความพระประสงค์ของพระพุทธองค์ที่ท่านทรงบัญญัติพระวินัยเอาไว้ ซึ่งมีบทลงโทษที่เรียกว่า “อาบัติ” และการต้องโทษ คือ การต้องอาบัติ นั่นเอง คำว่า “ปาราชิก”เป็นอาบัติที่หนักที่สุด เมื่อพระภิกษุรูปใดต้องเข้าแล้ว ย่อมขาดจากความเป็นพระภิกษุ ซึ่งต่อจากนี้ไปจะขอกล่าวเฉพาะอาบัติในข้อทุติยปาราชิก คือ “ภิกษุถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ได้ราคา 5 มาสก ต้องปาราชิก” ขึ้นมาอ้าง สืบเนื่องจากว่ามี พระภิกษุรูปหนึ่งนำเงินของวัดไปซื้อที่ดินและโอนเป็นชื่อตนเอง เป็นผลให้ที่ดินนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของตนทันที ต่อมาได้ถูกฟ้องต่อศาลและตกเป็นจำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ จึงยินยอมโอนที่ดินคืนกลับให้แก่วัดและพนักงานอัยการโจทก์ขอถอนฟ้องคดีก่อนจะมีคำพิพากษาของศาล พระภิกษุรูปนั้นจึงหลุดพ้นจากโทษอาญา เนื่องจากเป็นความผิดอันยอมความได้ กล่าวคือ ความผิดนี้ผู้เสียหายได้รับความเดือดร้อนโดยตรง แต่บุคคลอื่นในสังคมหาได้รับผลกระทบจากการกระทำผิดนั้นด้วยไม่ ผู้เสียหายจึงมีสิทธิยุติคดีเมื่อใดก็ได้

          ประเด็นปัญหาก็ยังคงค้างอยู่ต่อไปว่า พระภิกษุรูปนั้นจะต้องอาบัติปาราชิกตามพระวินัยหรือไม่เรื่องนี้ได้มีมติโดยกรรมการมหาเถรสมาคมวินิจฉัยชี้ขาดว่า พระภิกษุผู้ก่อเหตุไม่ต้องอาบัติปาราชิก เพราะว่าคดียักยอกเงินและที่ดินดังกล่าวนั้น เรื่องได้ยุติที่ศาลชั้นต้นแล้ว รวมทั้งไม่มีการยื่นอุทธรณ์อีกต่อไป คดีจึงเป็นอันสิ้นสุดลง ทำให้ชาวพุทธมองว่าเป็นการใช้ข้อตัดสินโดยอาศัยพื้นฐานทางกฎหมายอาญาเพียงประการเดียว และไม่ได้ยืนอยู่บนพื้นฐานทางพระวินัยแม้แต่ประการใด จึงขอนำเรื่องดังกล่าวนี้มาพินิจพิจารณาหาเหตุผล ด้วยหวังให้ชาวพุทธทั้งหลายได้คลายวิจิกิจฉา และกลับมีศรัทธาต่อพระภิกษุผู้ยึดมั่นในพระวินัย ได้ช่วยกันค้ำจุนให้พระพุทธศาสนาสถิตสถาพรสืบไป

References

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สำนักนวัตกรรมทางวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 วัน อาสาฬหบูชา. [ ออนไลน์ ]. เข้าถึงได้จาก http://www.culture.go.th/cday/ index. php?
option =com_content&view=article&id=651:2011-02-18-14-34-12&catid=49:0702
&Itemid=79 [2558, กุมภาพันธ์ 12].
แก้ว ชิดตะขบ. (2549). รวมวิชาธรรมศึกษาชั้นตรี. กรุงเทพ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนา แห่งชาติ.
คณิต ณ นคร. (2553). กฎหมายอาญาภาคความผิด. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
จิรวัฒน์ จงสงวนดี. (2543). ความผิดฐานยักยอก : ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะการคุ้มครองระหว่าง กฎหมายลักษณะอาญา รศ. 127 กับประมวลกฎหมายอาญา วิทยานิพนธ์ หลักสูตรนิติศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ผู้จัดการรายวัน. “ธัมมชโย” ศิษย์ข้าใครอย่าแตะ มส.+สมเด็จช่วง+เจ้าคุณเบอร์ลิน....เชียร์ขาดใจ(นะ จ๊ะ)เข้าถึงได้จาก http://www.manager.co.th/AstvWeekend/ViewNews.aspx?NewsID
=9590000015813 [2558, กุมภาพันธ์ 19].
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). 2557). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
. (2557). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพ : มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระวินัยปิฎก เล่ม 1 ภาค 1. (2543). มหาวิภังค์ ปฐมภาคและอรรถกถา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). มหามกุฏ ราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
. เล่ม 1 ภาค 2. (2543). มหาวิภังค์ ปฐมภาคและอรรถกถา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). มหามกุฏราช วิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
พระไตรปิฎก สำหรับประชาชน. (2550). ตอนว่าด้วยพระวินัย. กรุงเทพ : กรมศาสนา กระทรวง วัฒนธรรม
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. (2547). ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับอ้างอิง. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพ : วิญญู ชน
ไพจิตร ปุณณพันธุ์. (2538). สิทธิครอบครองทางแพ่งและทางอาญาเป็นอย่างเดียวกันหรือไม่. วารสาร นิติศาสตร์. ปีที่ 25 ฉบับที่ 2 ธันวาคม.
โพสต์ทูเดย์, มติมหาเถรฯชี้ ธัมมชโย ไม่ปาราชิก อ้างคดียุติแล้ว. เข้าถึงได้จาก
http://www.posttoday.com/social/ general/415359 [2558, กุมภาพันธ์ 18].
ภูภณัช รัตนชัย. (2558). “หลักการของเบญจศีลที่มีอิทธิพลต่อประมวล กฎหมายอาญา : กรณีศึกษาว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับชีวิตและความผิดเกี่ยวกับทรัพย์”. รายงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
มานิตย์ จุมปา. (2554) “คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยทรัพย์สิน”. พิมพ์ครั้งที่ 7, กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ม.ล.ไกรฤกษ์ เกษมสันต์. (2552). “คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญาภาคความผิด มาตรา 288 ถึง 366, สำนักอบรมการศึกษากฎหมายแห่งเนติบัญฑิตยสภา.
ศูนย์ศึกษาคดีปกครอง สำนักวิจัยและวิชาการ. หลักความเสมอภาคและการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม [ ออนไลน์ ]. เข้าถึงได้จาก http://www.admincourt.go.th/attach/news_attach/2009/11/
center181152.pdf [2558, กุมภาพันธ์ 12].
สนิท สนั่นศิลป์. (2549). “คำอธิบาย ทรัพย์สิน – ที่ดิน ตาม ป.พ.พ. และ ป.ที่ดิน” กรุงเทพ สำนักพิมพ์ :สูตรไพศาล
สมจิตร ดวงจักร์. (2542). “ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ห้องสมุด”วารสารจอมบึง ฉบับที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2554) “นวโกวาท (หลักสูตรนักธรรมชั้นตรี)”.พิมพ์ครั้งที่ 82, กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย.
แสวง อุดมศรี. (2546) พระวินัยปิฏก 1ว่าด้วยมหาวิภังค์หรือภิกขุวิภังค์. กรุงเทพ : บริษัท ประยูรวงศ์
พริ้นท์ติ้ง จำกัด.
อำนวย ยัสโยธา. (2531) “กระบวนการต้องโทษในประมวลกฎหมายอาญากับในพระไตรปิฎก-การศึกษาเชิงเปรียบเทียบ” รายงานวิจัยภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์วิทยาลัยครูสงขลา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/20/2017